Page 141 - kpiebook62002
P. 141
สหภาพเพื่อความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม การตั้งถิ่นฐานใหม่ และการพัฒนาในรัฐยะไข่ (UEHRD) และ
หน่วยงานของรัฐบาลเมียนมา ในขณะที่ไทยเข้าไปช่วยเมียนมาแก้ไขปัญหาในพื้นที่ด้วยการเป็น “เพื่อนบ้านที่
ดี” ที่แลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการป้องกันปัญหาร่วมกัน และใช้ความร่วมมือเพื่อการพัฒนา
อย่างไรก็ตาม ไทยและอาเซียนควรเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการผู้ย้ายถิ่นแบบไม่ปกตินั้น คือ
การถอดบทเรียนจากลาตินอเมริกาที่เผชิญปัญหาการย้ายถิ่นของชาวโคลอมเบียจ านวนกว่า 3 ล้านคนที่ส่งผล
กระทบกับประเทศเพื่อนบ้าน บทเรียนส าคัญประการหนึ่งที่ได้จากกรณีนี้ คือ กลไกและเครื่องมือที่พัฒนาขึ้น
นั้นไม่จ าเป็นต้องมีผลผูกพันทางกฎหมายแต่โดยหลักอยู่ในลักษณะ “ปฏิญญา” และ “แผนปฏิบัติการ” ที่ไม่
เพียงนิยามความหมายตรงกันแต่ยังขยายความให้ครอบคลุมสถานการณ์จริงของภูมิภาค และพิจารณาหา
แนวทางที่เหมาะสมและยั่งยืน โดยไม่ได้ส าคัญว่าประเทศในอาเซียนต้องเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้
ลี้ภัย ค.ศ. 1951 แต่คือการยอมรับที่จะจัดการการย้ายถิ่นแบบไม่ปกติและร่วมกันคิดหาหนทางเพื่อจัดการ
ดังที่ William Lucy Swing ผู้อ านวยการ IOM ได้กล่าวไว้ว่า “การย้ายถิ่นไม่ใช่ปัญหาที่ต้องแก้ไข แต่เป็นความ
จริงที่ต้องจัดการ” โดยสิ่งที่ไทยต้องร่วมกับประเทศในอาเซียนพัฒนาต่อไปอย่างกรณีลาตินอเมริกา คือ
“ระบอบการคุ้มครอง” (protection regime) ในเรื่องสิทธิมนุษยชนต่อผู้ย้ายถิ่น
โจทย์ของประชาคมอาเซียนในปัจจุบัน จึงอยู่ที่การเปลี่ยนจากภาวะการปฏิเสธความจริงเป็นสู่การ
พัฒนาเครื่องมือและกลไกที่สอดประสานกันระหว่างระดับภูมิภาคกับระดับประเทศ โดยเฉพาะการเคลื่อนของ
คนในภูมิภาคนี้ที่มีลักษณะผสม ซึ่งมีได้ทั้งผู้ย้ายถิ่นทางเศรษฐกิจ แรงงานไร้ทักษะที่แสวงหาโอกาส ผู้ลักลอบ
เข้าเมือง เหยื่อการค้ามนุษย์ ฯลฯ การแก้ปัญหาคงไม่ได้จ ากัดทางเลือกเพียงแค่การผลักดันออกนอกประเทศ
แต่ไทยสามารถใช้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาเข้าไปสร้างโอกาสหรือพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อแก้ปัญหา
ต้นทางที่ผลักดันคนให้เคลื่อนย้าย เช่น พื้นที่ชายแดน รวมถึงการปรับเปลี่ยนนโยบายบริหารจัดการคนเข้า
เมืองที่เปลี่ยนจากการควบคุม (control) ที่ห้ามเข้าประเทศ เป็นการวางกฎระเบียบการเคลื่อนย้าย (regulate)
มากยิ่งขึ้น เพราะในความเป็นจริงผู้ที่ย้ายถิ่นล้วนต้องการมีชีวิตที่ดีขึ้นและไทยดึงดูดให้คนมาหางานท า
กฎเกณฑ์ที่วางไว้ควรผ่อนคลายให้มากที่สุดเท่าที่ท าได้ เพราะหากเดินทางมายากก็จะกลับกลายเป็นการเปิด
ช่องให้ขบวนการแสวงหาผลประโยชน์โดยต้องจ่ายเงินหรือขายตัวในลักษณะแรงงานบังคับ โดยถึงที่สุดแล้ว
อาจพิจารณาเก็บภาษีจากคนเหล่านี้เพื่อน ามาเป็นสวัสดิการสังคมในเรื่องการดูแลสุขภาพและการศึกษา (สุภ
ลักษณ์ กาญจนขุนดี, สัมภาษณ์, 22 มีนาคม 2562)
[125]