Page 138 - kpiebook62002
P. 138
ในวาระครบรอบ 10 ปีปฏิญญาคาร์ตาเฮนาว่าด้วยผู้ลี้ภัยในวันที่ 5-7 ธันวาคม 1994 ตัวแทน
ประเทศอเมริกา 20 ประเทศ สัมมนากันที่กรุงซันโฮเซ ประเทศคอสตาริกา โดยมีเป้าหมายเพื่อประเมิน
ปฏิญญาคาร์ตาเฮนาฯ ใหม่ และขยายความเป็น “ปฏิญญาซันโฮเซว่าด้วยผู้ลี้ภัยและผู้ผลัดถิ่น” (San José
Declaration on Refugees and Displaced Persons) ซึ่งประกาศไว้ตอนหนึ่งว่า “เรียกร้องให้รัฐบาลด้วย
การท างานกับ UNHCR ส่งเสริมกระบวนปรับให้สอดคล้องกันเชิงก้าวหน้าในเรื่องกฎ เกณฑ์ และขั้นตอน
ด าเนินการเกี่ยวกับผู้ลี้ภัยที่อิงอนุสัญญาฯ ปี 1951 และพิธีสารปี 1967 เกี่ยวกับสถานภาพผู้ลี้ภัย อนุสัญญา
อเมริกันว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และปฏิญญาคาร์ตาเฮนาฯ” (Barichello, 2015, p. 158, 2016, p. 197)
ปฏิญญาซันโฮเซฯ เสนอให้ทบทวนปฏิญญาคาร์ตาเฮนาว่าด้วยผู้ลี้ภัย เพื่อรื้อฟื้นและเสริมสร้างข้อ
สัญญาของประเทศในทวีปอเมริกาในการค้นหาทางออก นอกจากนี้ยังกล่าวถึงความจ าเป็นในการเผชิญหน้า
กับปัญหาผู้พลัดถิ่นในภูมิภาคซึ่งมีสาเหตุหนึ่งมาจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน ดังนั้นการพิทักษ์สิทธิดังกล่าว
และเสริมสร้างระบบประชาธิปไตยจึงเป็นมาตรการที่ดีที่สุดในการค้นหาทางออกที่ยั่งยืน (Barichello, 2016,
p. 197) ทวีปอเมริกาผูกพันตัวเองอย่างทุ่มเทที่จะสนับสนุนความหวังด้วยความตระหนักว่า ไม่ว่าประเทศ
จ านวนหนึ่งมีข้อจ ากัดทางการเงินและสังคมก็ตาม แต่ยังคงเป็นเอกภาพและท างานอย่างใกล้ชิดกับ UNHCR
เพื่อให้ผู้ลี้ภัย ผู้พลัดถิ่นภายใน ผู้แสวงหาที่ลี้ภัยได้รับความมั่นคงและความช่วยเหลือที่จ าเป็น (Barichello,
2015, pp. 159–160)
4. ปฏิญญาและแผนปฏิบัติการเม็กซิโกเพื่อเสริมสร้างการคุ้มครองระหว่างประเทศของผู้ลี้ภัยใน
ลาตินอเมริกา (Mexico Declaration and Plan of Action to Strengthen the
International Protection of Refugees in Latin America) ค.ศ. 2004
ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลโคลอมเบียและกองโจรติดอาวุธลัทธิมากซ์ซึ่งเริ่มในกลางทศวรรษ
1960 ส่งผลให้คนกว่า 3 ล้านคนเป็นผู้ลี้ภัยหรือผู้ผลัดถิ่นภายในประเทศตน ซึ่งบ่อยครั้งตกอยู่ในสภาพที่
ล าบาก อยู่ในความกลัวการฆ่าตามอ าเภอใจไปตลอดโดยไม่เห็นถึงการแก้ปัญหาในระยะยาว ก่อให้เกิด
สถานการณ์มนุษยธรรมที่ไม่ปลอดภัย (UNRIC, n.d.) จากบริบทดังกล่าวในปี 2004 ซึ่งเป็นวาระครบรอบ 20
ปีปฏิญญาคาร์ตาเฮนาว่าด้วยผู้ลี้ภัย ได้จัดประชุมขึ้น 4 ครั้งที่คอสตาริกา บราซิล และโคลอมเบีย (2 ครั้ง) โดย
รัฐทั้งหลาย องค์การระหว่างประเทศ และผู้แทนภาคประชาคมรวมตัวกันเพื่อวิเคราะห์ความท้าทายหลักที่การ
คุ้มครองผู้ลี้ภัยเผชิญอยู่ในลาตินอเมริการวมถึงปรากฏการณ์ชายแดนที่คับคั่งด้วยผู้คนจากการขัดกันด้วยอาวุธ
ในโคลอมเบีย อีกทั้งระบุแนวปฏิบัติที่จะด าเนินการเพื่อคุ้มครองผู้ลี้ภัยให้ดียิ่งขึ้นรวมถึงช่วยเหลือประเทศที่ให้ลี้
ภัยในการหาทางแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืน (Barichello, 2015, p. 165)
รัฐบาลลาตินอเมริกา 20 ประเทศรับรองแผนปฏิบัติการเม็กซิโก (Mexico Plan of Action: MPA) ใน
วันที่ 16 พฤศจิกายน 2004 โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ การวางแผนยุทธศาสตร์ร่วมในการจัดการการผลัดถิ่น
ของคนจากโคลอมเบีย ก าหนดเงื่อนไขแผนระดับภูมิภาคในการคุ้มครองและเสนอใช้มาตรการที่ยั่งยืนส าหรับ
ประเด็นผู้ลี้ภัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อเผชิญทั้งสถานการณ์ที่จ าเป็นต้องมีการตอยอย่างเร่งด่วนอย่างการเคลื่อน
[122]