Page 139 - kpiebook62002
P. 139

ของผู้ลี้ภัยที่เพิ่มขึ้นในเมืองใหญ่ของลาตินอเมริกา และสถานการณ์ที่ชาวโคลอมเบียจ านวนมหาศาลอยู่ตรงเขต

               ชายแดนที่ติดกับเอกวาดอร์ คอสตาริกา และเวเนซุเอลา (Barichello, 2015, p. 165)
                       MPA ประกอบด้วย 4 ส่วนหลักในด้านการให้ความคุ้มครอง ได้แก่ (1) เสริมสร้างกรอบการท างานเชิง

               กฎหมายและปฏิบัติการส าหรับการคุ้มครองผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่นภายในภูมิภาคให้ทัดเทียมกับตราสารระหว่าง

               ประเทศ (2) ส่งเสริมการวิจัยทางกฎหมายและการพัฒนาหลักการ ซึ่งรวมถึงการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานด้านผู้ลี้
               ภัย (3) เสริมสร้างคณะกรรมาธิการแห่งชาติส าหรับการก าหนดสถานะผู้ลี้ภัย และ (4) เสริมสร้างเครือข่ายการ

               คุ้มครองแห่งชาติและระดับภูมิภาค นอกจากนี้ให้สื่อเผยแพร่คุณค่าของความร่วมมือร่วมใจ การเคารพ ความ

               อดทนอดกลั้น และพหุวัฒนธรรมในเครือข่ายและสื่อสิ่งพิมพ์ของตน
                       ส่วนการแก้ปัญหาที่ยั่งยืนของ MPA เน้นนัยส าคัญของการเผยแพร่ “แนวปฏิบัติที่ดี“ ในพื้นที่เพื่อ

               ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกันแบบใต้-ใต้ (South-South) ในภูมิภาค โดยมี 3 โครงการความร่วมที่ได้

               พัฒนาขึ้น ได้แก่ (1) โครงการตั้งถิ่นฐานใหม่ (Solidarity Resettlement Programme) โดยเน้นย้ าการ
               แบ่งปันภาระกันในภูมิภาคในการหาที่อยู่ใหม่ให้กับผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่นภายใน (2) โครงการเมือง (Solidarity

               Cities Programme) เพื่อส่งเสริมการบูรณาการเข้ากับท้องถิ่นและการพึ่งพาตนเองของคนที่ต้องการการ

               คุ้มครองในเขตเมือง และ (3) โครงการชายแดน (Borders of Solidarity Programme) เน้นการพัฒนาเขต
               ชายแดนของประเทศเพื่อนบ้านให้เกิดประโยชน์ต่อทั้งขาวโคลอมเบียพลัดถิ่นและประเทศที่ให้อยู่อาศัย

               (Barichello, 2016, p. 198–202)


                       5.  ปฏิญญาบราซิเลียว่าด้วยการคุ้มครองผู้ลี้ภัยและบุคคลไร้รัฐในอเมริกา (Brasilia Declaration

                          on the Protection of Refugees and Stateless Persons in the Americas) ค.ศ. 2010

                          ในปี 2010 ปฏิญญาบราซิเลียว่าด้วยการคุ้มครองผู้ลี้ภัยและบุคคลไร้รัฐในอเมริกาได้รับการ
               รับรอง ปฏิญญานี้มีลักษณะหลัก 3 ประการ ได้แก่ (1) การเคารพหลักการไม่ผลักดันกลับ (non-refoulement)

               โดยไร้ข้อสงวนซึ่งรวมถึงการไม่ปฏิเสธที่ชายแดนและการไม่ผลักดันกลับทางอ้อม รวมทั้งการไม่ลดโทษการเข้า

               เมืองผิดกฎหมายและการไม่เลือกปฏิบัติ (2) การรวมข้อพิจารณาเรื่องเพศ อายุ และความหลากหลายเข้าไปใน
               กฎหมายชาติเกี่ยวกับผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่นภายใน (3) การสนับสนุนให้รัฐรับกลไกในการจัดการ “สถานการณ์

               ใหม่ที่ไม่ได้คาดการณ์ล่วงหน้าตามตราสารระหว่างประเทศส าหรับการคุ้มครองผู้ลี้ภัย” (Barichello, 2016, p.

               199)


                       โดยสรุป กลุ่มประเทศละตินอเมริกานั้นค่อยๆ พัฒนาเครื่องมือในการจัดการกับปัญหาผู้ลี้ภัยอย่างเป็น

               ระบบเริ่มจากการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. 1951 ที่ถือว่าเป็นกลไกระดับโลกในการ
               แก้ปัญหาและพัฒนามาสู่ปฏิญญาคาร์ตาเฮนาว่าด้วยผู้ลี้ภัย ค.ศ. 1984 ที่เป็นเครื่องมือระดับภูมิภาคที่ขยายค า

               นิยามผู้ลี้ภัยเพื่อให้ความคุ้มครองเข้าถึงคนกลุ่มต่างๆ มากขึ้น ซึ่งได้พัฒนาต่อมาเป็นปฏิญญาซันโฮเซว่าด้วยผู้ลี้

               ภัยและผู้ผลัดถิ่น ค.ศ. 1994 ที่ได้ส่งเสริมหลักการเรื่องสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยในการแก้ปัญหาของ




                                                          [123]
   134   135   136   137   138   139   140   141   142   143   144