Page 134 - kpiebook62002
P. 134

ประโยชน์ โดยไม่มุ่งประณามแต่เน้นการให้ความช่วยเหลือต่างๆ เพื่อปรับชีวิตความเป็นอยู่ของประเทศต้นทาง

               ให้ดีขึ้น
                       ในการแก้ไขปัญหาการย้ายถิ่นแบบไม่ปกติอย่างโรฮิงญา ในระดับรัฐบาลไทยใช้เครื่องมือความร่วมมือ

                                                       16
               เพื่อการพัฒนา (development cooperation)  ในประเด็นที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกันของไทยกับเมียนมา
               โดยเน้นสาขาความร่วมมือที่ไทยมีความเชี่ยวชาญ และสอดคล้องกับความต้องการของฝ่ายเมียนมา (demand-
               driven approach) เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและไว้เนื้อเชื่อใจต่อกันทั้งในระดับรัฐบาลและระดับประชาชน

               (สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงย่างกุ้ง, 2555) โดยให้ความช่วยเหลือต่อรัฐยะไข่ให้ครอบคลุมมิติต่างๆ

                       ประเทศไทยเป็นทั้งทางผ่านของการย้ายถิ่นและอยู่ติดกับเมียนมา โดยยึดหลักการเป็นเพื่อนบ้านที่ดี
               จึงมุ่งสนับสนุนประชาธิปไตยในเมียนมาเพื่อให้เมียนมารักษาเสถียรภาพได้ โดยไทยสนับสนุนรัฐบาลเมียนมา

               ผ่าน “กิจการสหภาพเพื่อความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม การตั้งถิ่นฐานใหม่ และการพัฒนาในรัฐยะไข่”

               (Union Enterprise for Humanitarian Assistance, Resettlement and Development in Rakhine
                             17
               State: UEHRD)  รวมทั้งโครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนาอีกหลายโครงการในรัฐยะไข่ ครอบคลุมสาขา
               ต่างๆ อาทิ การศึกษาและการเกษตร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการเลี้ยงชีพและส่งเสริมสภาพความ

               เป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ให้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ไทยเน้นพัฒนารัฐยะไข่ให้มีความสมดุลต่อคนในพื้นที่ทั้งที่
               เป็นมุสลิมและคนพุทธในพื้นที่ซึ่งจะเป็นพื้นฐานส าคัญ ก่อนไปพิจารณาแก้ไขปัญหาหลักๆ อย่างเรื่องความเป็น

                      18
               พลเมือง
                       ประเทศไทยโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายดอน ปรมัตถ์วินัย ประกาศ ความตั้งใจ
               ที่จะให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในรัฐยะไข่ระหว่างการเข้าร่วมรับฟังการบรรยายสรุปเกี่ยวกับ

               สถานการณ์ในรัฐยะไข่จากที่ปรึกษาแห่งรัฐเมียนมาอองซานซูจีเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2016 ที่กรุงย่างกุ้ง เป็น

               ผลให้วันที่ 13 มกราคม 2017 นายพิษณุ สุวรรณะชฎ เอกอัครราชทูต ณ กรุงย่างกุ้ง เข้าพบที่ปรึกษาแห่งรัฐ
               เมียนมาพร้อมมอบความช่วยเหลือมูลค่า 200,000 ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อสนับสนุนการด าเนินการด้าน

               มนุษยธรรมของรัฐบาลเมียนมาในรัฐยะไข่ นโยบายของไทยที่สนับสนุนรัฐบาลเมียนมาในการแก้ไขปัญหาในรัฐ

               ยะไข่ในมิติต่างๆ โดยสิ่งส าคัญที่ไทยสนับสนุน คือ การพัฒนาเพื่อยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนใน
               พื้นที่ รวมถึงการด าเนินโครงการให้ความช่วยเหลือในการก่อสร้างโรงสีชุมชน (สถานเอกอัครราชทูต ณ

               กรุงย่างกุ้ง, 2560) โดยถือเป็นการสนับสนุน “แถลงการณ์ประธานอาเซียนว่าด้วยสถานการณ์มนุษยธรรมในรัฐ

               ยะไข่” (ASEAN Chairman’s Statement on the Humanitarian Situation in Rakhine State) เมื่อวันที่
               24 กันยายน 2017 ในช่วงการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ครั้งที่ 72





               16   ส าหรับงานที่ศึกษาเรื่องการทูตเพื่อการพัฒนาในฐานะนโยบายของไทยโดยตรงนั้น ดู สายัณห์ กองโกย (2558)
               17   ดูข้อมูลเพิ่มเติมในเว็บไซต์ทางการ Office of the Union Enterprise for Humanitarian Assistance, Resettlement and Development
               in Rakhine, http://rakhine.unionenterprise.org
               18   เจ้าหน้าที่การทูตไทย ประจ าสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงย่างกุ้ง สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา, 10 กันยายน 2560, สัมภาษณ์โดย อนุสรณ์
               ชัยอักษรเวช.


                                                          [118]
   129   130   131   132   133   134   135   136   137   138   139