Page 130 - kpiebook62002
P. 130

ความส าคัญของการประชุมนี้ คือ การหารือประเด็นการเคลื่อนย้ายแบบไม่ปกติของบุคคลซึ่งเชื่อมโยง

               กับอาชญากรรมการค้ามนุษย์และการลักลอบขนย้ายคน ส าหรับทางออกระดับภูมิภาคที่เป็นไปได้ คือ การ
               จัดตั้ง “หน่วยเฉพาะกิจพิเศษ” (Special Task Force) หรือ “คณะหัวหน้าหน่วยผู้เชี่ยวชาญ” (Heads of

               Specialist Unit) เกี่ยวกับประเด็นการเคลื่อนย้ายแบบไม่ปกติของบุคคล การเสริมสร้างความพยายามบังคับใช้

               กฎหมายในระดับชาติและระดับภูมิภาคด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การแบ่งปันข้อมูลและข่าวกรอง การจัดตั้ง
               “หน่วยเฉพาะกิจสืบสวนพิเศษ” (special investigative taskforce)” ไปจนถึง “กองทุนรวม” (trust fund)

               ที่ส านักเลขาธิการอาเซียนบริหาร โดยรัฐสมาชิกอาเซียนและประชาคมระหว่างประเทศร่วมสมทบเงินด้วย

               ความสมัครใจ เพื่อสนับสนุนความพยายามด้านมนุษยธรรมและบรรเทาทุกข์ที่เป็นผลจากการปัญหาการย้าย
               ถิ่นแบบไม่ปกติ

                       แนวคิดการจัดตั้ง “หน่วยเฉพาะกิจ” ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานและโครงการของ

               สหประชาชาติและองค์การระหว่างประเทศทั้งส านักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR)
               ส านักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR) ผู้แทนพิเศษเลขาธิการสหประชาชาติ

               (SRSG) ด้านการย้ายถิ่นและการพัฒนา ส านักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ

               (UNODC) และองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) เพื่อให้เกิดช่องทางปกติส าหรับการ
               สนับสนุนของประชาคมระหว่างประเทศ ส าหรับความพยายามของรัฐที่ได้รับผลกระทบทั้งการคุ้มครองสิทธิ

               การเริ่มมาตรการบังคับใช้กฎหมายที่เหมาะสม และการตอบสนองต่อปัจจัยขับเคลื่อนและสาเหตุพื้นฐานของ

               การเคลื่อนย้ายที่ถูกบังคับ UNHCR แบ่งปันความเชี่ยวชาญทางเทคนิคในการคัดกรองและแสวงหาทางออก
               ส าหรับผู้ลี้ภัย ช่วยระดมการสนับสนุนส าหรับความพยายามที่น่ายกย่องของอาเซียนเพื่อจัดการกับความท้า

               ทายระดับภูมิภาคนี้ (Office of the United Nations High Commissioner for Refugees, 2015b)


                       3.3.4  การประชุมวาระพิเศษว่าด้วยการย้ายถิ่นแบบไม่ปกติในมหาสมุทรอินเดีย (Special Meeting

                            on Irregular Migration in the Indian Ocean) ครั้งที่ 2 และผลสืบเนื่องจากการประชุม


                            ในปลาย ค.ศ. 2015 รัฐบาลไทยโดยกระทรวงการต่างประเทศจัดการประชุมวาระพิเศษว่าด้วย

               การย้ายถิ่นแบบไม่ปกติในมหาสมุทรอินเดีย (Special Meeting on Irregular Migration in the Indian

               Ocean) เป็นครั้งที่ 2 ในวันที่ 3-4 ธันวาคม 2015 ที่กรุงเทพฯ เพื่อติดตามผลจากการประชุมครั้งแรกเมื่อเดือน
               พฤษภาคม 2015 ผู้เข้าร่วมจาก 18 ประเทศและ 6 องค์การระหว่างประเทศ หารือกันใน 3 ด้านหลัก ได้แก่

               (1) สถานการณ์และความท้าทายปัจจุบันของการย้ายถิ่นแบบไม่ปกติ (2) ติดตามความก้าวหน้าภายหลังการ

               ประชุมวาระพิเศษว่าด้วยการย้ายถิ่นแบบไม่ปกติในมหาสมุทรอินเดียเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2015 และ (3)
               แนวทางในอนาคตเพื่อจัดการปัจจัยที่มีส่วนต่อปัญหาการย้ายถิ่นแบบไม่ปกติด้วยการส่งเสริมการย้ายถิ่นที่

               ปลอดภัยและการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ที่ยั่งยืน (กระทรวงการต่างประเทศ, 2558; Royal Thai Embassy,

               Washington, D.C., 2015)




                                                          [114]
   125   126   127   128   129   130   131   132   133   134   135