Page 125 - kpiebook62002
P. 125
การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยที่ในระดับภูมิภาคนี้ ควรชักชวนประเทศที่เป็นต้นทางของการย้ายถิ่น
เข้ามาก าหนดแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกันมากขึ้น
Caballero-Anthony (2018) นักวิชาการฟิลิปปินส์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้วิจารณ์ว่า รัฐอาเซียนไม่ได้พยายามร่วมกันและยั่งยืนอย่างจริงจังให้เป็นที่ประจักษ์แต่อย่าง
ใดในการจัดการการย้ายถิ่นแบบไม่ปกติในกรณีผู้อพยพทางเรืออย่างชาวโรฮิงญา ซ้ ายังอยู่ใน
“ภาวะปฏิเสธความจริง” (state of denial) ส่งผลให้การแก้ไขปัญหามีลักษณะเฉพาะกิจและชั่วคราวเพื่อให้
รัฐบาลในภูมิภาคหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบร่วมกัน หลายประเทศขาดกลไกในการคุ้มครองและด าเนินการ
เกี่ยวกับผู้ลี้ภัยและผู้แสวงหาที่ลี้ภัย ผู้ย้ายถิ่นจึงมักถูกปฏิบัติในฐานะผู้ย้ายถิ่นผิดกฎหมาย (Caballero-
Anthony, 2018, p. 132)
ระบอบการย้ายถิ่นที่มีอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกจึงยังคงไม่เพียงพออย่างมากในการจัดการความ
จ าเป็นในการคุ้มครองและสิทธิของผู้ย้ายถิ่นเพราะเน้นการปราบปรามเสียมากกว่า อันเป็นการสะท้อนถึงความ
ล้มเหลวอย่างกว้างขวางของประชาคมระหว่างประเทศในการตอบสนองการเคลื่อนย้ายของคนที่เริ่มปรากฏขึ้น
และมีความซับซ้อนระดับโลก กรอบการท างานการย้ายถิ่นระดับภูมิภาคที่มีอยู่ก็มุ่งประเด็นการค้ามนุษย์เป็น
ส่วนใหญ่โดยเฉพาะอย่างยิ่งอนุสัญญาอาเซียนว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะสตรีและเด็ก (ACTIP)
ค.ศ. 2015 โดยเน้นการก าหนดให้เป็นความผิดอาญา (criminalizing) และการจับกุม (prosecuting) การค้า
มนุษย์แทนที่จะมุ่งคุ้มครองเหยื่อการค้ามนุษย์และสิทธิของเหยื่อ (Caballero-Anthony, 2018, pp. 114,
125–126) ส่วนกระบวนการบาหลีว่าด้วยการลักลอบขนย้ายคน การค้ามนุษย์ และอาชญากรรมข้ามชาติที่
เกี่ยวข้อง (Bali Process on People Smuggling, Trafficking in Persons and Related Transnational
Crime) ซึ่งสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศเป็นสมาชิกนั้น แม้จะมีส านักงานสนับสนุนระดับภูมิภาค (Regional
Support Office: RSO) ตั้งอยู่ที่กรุงเทพฯ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลต่างๆ แต่ก็เน้นการย้ายถิ่นแบบไม่ปกติทาง
ทะเล ทั้งที่การแลกเปลี่ยนข้อมูลควรครอบคลุมทั้งทางบก ทางทะเล และทางอากาศ
อาเซียนและกระบวนการบาหลีที่เป็นอยู่เป็นประโยชน์ในแง่เวทีการทูตเพื่อใช้แบ่งปันนโยบาย ข้อมูล
และความรู้ อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ติดตามการทูตไทยในเรื่องโรฮิงญาตั้งข้อสังเกตว่าในปี 2014 ไทยพึงพอใจที่จะใช้
เวทีใหญ่อย่างกระบวนการบาหลีมากกว่า เพื่อหาช่องเลี่ยงทางการทูตด้วยการน าปัญหาที่แก้ไม่ได้มาลงเวทีที่
ใหญ่ที่สุดซึ่งยึดหลักการสมัครใจและเน้นความสบายใจ กระบวนการบาหลีจึงเป็นได้แค่เพียงเวทีปรึกษาหารือ
ไม่ใช่เวทีในการตัดสินใจแก้ปัญหาการย้ายถิ่นแบบไม่ปกติของโรฮิงญาที่มีหลากหลายมิติ ทั้งการค้ามนุษย์ การ
ย้ายถิ่น ความขัดแย้งและการใช้ความรุนแรงทางการเมืองภายในประเทศ ไทยในฐานะประธานอาเซียนควร
เลือกใช้เครื่องมือที่หลากหลาย เช่น ความช่วยเหลือเพื่อมนุษยธรรมไปจนถึงการเจรจาพูดคุยกับเมียนมาเรื่อง
สิทธิพลเมือง (citizenship) ในขณะที่ตอนนี้อาเซียนหันมาใช้ศูนย์ประสานงานอาเซียนเพื่อความช่วยเหลือด้าน
มนุษยธรรมและการจัดการภัยพิบัติ (ASEAN Coordinating Centre for Humanitarian Assistance on
Disaster Management: AHA Centre) และ “แผนครบวงจร” (Comprehensive Plan) ที่อิงรายงานฉบับ
[109]