Page 123 - kpiebook62002
P. 123

ยากมาก ต้องใช้วิธีการสืบสวนที่ปลายทางน าหลายคดีมาเชื่อมโยงกันเพื่อน าไปสู่การจับกุม อีกทั้งควรใช้การ

               ข่าวร่วมเพื่อติดตามการเคลื่อนไหวของกลุ่มที่ลักลอบคนย้ายคนที่ส่วนใหญ่เป็นเจ้าของเรือ ถ้าฝ่ายเมียนมาสกัด
               แต่ต้นได้ก็จะหยุดยั้งได้ (ธรรมศักดิ์ วิชชารยะ, สัมภาษณ์, 22 มีนาคม 2562)

                       ในการตรวจคนเข้าเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการปฏิบัติต่อผู้หลบหนีเข้าเมืองที่มีเด็กอยู่ด้วยนั้น ส่วน

               ราชการ 7 หน่วย ได้แก่ ส านักงานต ารวจแห่งชาติ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
               กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวง

               แรงงาน ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) เรื่อง การก าหนดมาตรการและแนวทางแทนการกักตัวเด็กไว้ใน

               สถานกักตัวคนต่างด้าวเพื่อรอการส่งกลับ เพื่อก าหนดหน้าที่ความรับผิดชอบและแนวทางปฏิบัติงานของทุก
               ส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ในการดูแลและไม่กักตัวเด็กในห้องกักตรวจคนเข้าเมือง

               และเป็นการด าเนินการตามค ามั่นที่นายกรัฐมนตรีไทย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้ไว้ในที่ประชุมสุดยอด

               ระดับผู้น าด้านผู้ลี้ภัย (Leaders’ Summit on Refugees) ณ นครนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2016 และ
               สอดคล้องกับพันธกรณีของไทยภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child:

               CRC) โดยในเดือนมกราคม 2019 เอกอัครราชทูตประเทศต่างๆ หัวหน้าส านักงานองค์การระหว่างประเทศ

                                15
               ประจ าประเทศไทย  และผู้แทนจากภาครัฐ ภาคประชาสังคม และสื่อมวลชน เข้าร่วมเป็นพยานในพิธีลงนาม
               บันทึกความเข้าใจดังกล่าว (กระทรวงการต่างประเทศ, 2562ข)



                       อย่างไรก็ตาม กลไกเชิงปราบปรามเพื่อจัดการผู้ย้ายถิ่นแบบไม่ปกติยังมีปัญหาอยู่หลายประการ ได้แก่
               การแยกส่วนหน่วยงานของต ารวจไทยที่จัดการคดีโดยหากเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ก็จะเป็นหน้าที่ศูนย์พิทักษ์เด็ก

               สตรี ครอบครัว และป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ กองบัญชาการต ารวจสอบสวนกลาง แต่หากเกี่ยวข้องกับ

               การลักลอบขนย้ายคนจะอยู่ในความรับผิดชอบของรองผู้บัญชาการต ารวจแห่งชาติ (งานความมั่นคงและ
               กิจการพิเศษ) เช่น ส านักงานตรวจคนเข้าเมือง กองบัญชาการต ารวจตระเวนชายแดน ฯลฯ ดังนั้นหากเรื่องยัง

               ไม่ถูกพิจารณาเป็นคดีค้ามนุษย์ก็จะไม่มีการรายงานไปที่ศูนย์พิทักษ์เด็ก สตรี ครอบครัว และป้องกัน

               ปราบปรามการค้ามนุษย์ จึงใช้วิธีการจัดระบบการท างาน การฝึกอบรมที่ส านักงานตรวจคนเข้าเมือง (สตม.)
               จากเดิมที่ท าแต่การลักลอบขนย้ายคน ปัจจุบันสามารถขยายผลได้ดีขึ้น (ธรรมศักดิ์ วิชชารยะ, สัมภาษณ์, 22

               มีนาคม 2562) อีกทั้งในการจับกุมหากเจ้าหน้าที่ไม่มีความพยายามขยายผลต่อ ก็จะเอาผิดได้แค่คนขับรถที่จะ

               ถูกพิพากษาว่ามีความผิดในการน าพาต่างด้าวเข้ามาในประเทศ ส่วนความผิดฐานการค้ามนุษย์ศาลก็มัก
               พิจารณายกฟ้องเพราะพิจารณาว่าไม่เข้าข่ายองค์ประกอบ และขบวนการก็ด าเนินการต่อ (ศิววงศ์ สุขทวี,

               2558)






               15   ได้แก่ คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (International Committee of the Red Cross: ICRC) ส านักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่ง
               สหประชาชาติ (United Nations High Commissioner for Refugees: UNHCR) กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (United Nations
               Children’s Fund: UNICEF) และองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (International Organization for Migration: IOM)


                                                          [107]
   118   119   120   121   122   123   124   125   126   127   128