Page 118 - kpiebook62002
P. 118
ในเชิงหลักกฎหมายต่อการจัดการผู้ย้ายถิ่นแบบไม่ปกติ ไทยใช้พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
(ค.ศ. 1979) ซึ่งแบ่งขาว-ด า กล่าวคือ ผิดกฎหมายถูกกฎหมายอย่างชัดเจน หากผู้ย้ายถิ่นใช้เอกสารปลอมก็จะ
กลายเป็นผู้ท าผิดกฎหมายทันที ไทยจึงใช้ค าว่า “ผู้หลบหนีเข้าเมือง” ขณะนี้ส านักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
ทบทวน “ยุทธศาสตร์แก้ปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองทั้งระบบ” และน าประเด็นนี้หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
อยู่ โดยไม่ได้มุ่งก าหนดนิยามแต่แบ่งกลุ่มเป้าหมายเป็น 4 กลุ่มหลัก โดยสองกลุ่มแรก ได้แก่ (1) ชนกลุ่มน้อย
กลุ่มชาติพันธุ์จากพม่าที่กลับประเทศต้นทางไม่ได้และยังไม่ได้สถานะให้เป็นคนต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วย
กฎหมายหรือได้รับสัญชาติไทย และ (2) กลุ่มแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ พม่า ลาว กัมพูชา ถือเป็นผู้หลบหนี
เข้าเมือง นอกจากนี้ยังมี (3) กลุ่มที่มีปัญหาความมั่นคงเฉพาะซึ่งรวม “ผู้หลบหนีเข้าเมือง” ชาวโรฮิงญา ผู้หนี
ภัยการสู้รบจากพม่า ชาวเกาหลีเหนือ และ (4) กลุ่มอื่นๆ ที่เข้ามาอย่างถูกต้องหรือเข้ามาโดยการปลอม
เอกสารเดินทางแล้วไม่กลับออกไป ซึ่งนับรวมถึงผู้เข้าเมืองถูกกฎหมายแต่อยู่เกินก าหนด (นิติพรรณ แสงศิลา,
สัมภาษณ์, 22 มีนาคม 2562)
พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 เพียงอย่างเดียวเป็นเครื่องมือที่ไม่ยืดหยุ่นเพียงพอต่อการ
จัดการกลุ่มผู้ย้ายถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีผู้หนีภัยการสู้รบเข้ามาโดยสาเหตุเกรงกลัวอันตรายต่อชีวิต การ
ผลักดันกลับโดยทันทีย่อมขัดกับหลักการห้ามผลักดันกลับ (non-refoulement) ด้วยเหตุนี้ไทยจึงหันมาใช้
แนวทางที่ยืดหยุ่นมากขึ้น เช่น การสัมภาษณ์ผู้ย้ายถิ่นโดยกระทรวงการต่างประเทศประสานงานกับประเทศ
ต้นทางให้ดูว่าเกิดปัญหาขึ้นในพื้นที่อย่างในรัฐยะไข่หรือไม่ การใช้ช่องทางประสานงานระหว่างส านักงาน
ข้าหลวงใหญ่เพื่อผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) กับองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน
(IOM) ในการส่งตัวไปประเทศที่สาม การใช้กฎหมายตัวอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องมาแก้ปัญหาเพื่อให้เกิดผลดีที่สุดใน
ด้านความมั่นคงระหว่างประเทศและในเชิงมนุษยธรรม
ไทยเคยพยายามปรับมุมมองในการมองผู้ย้ายถิ่นแบบไม่ปกติในเชิงสิทธิมนุษยชน โดยมองถึงผู้ลี้ภัยใน
พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง ค าว่า “ผู้ลี้ภัย” นี้ปรากฏในมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2017 เรื่อง
กฎหมายส าคัญที่มีความจ าเป็นเร่งด่วนที่ต้องเร่งรัดปรับปรุงหรือยกร่างกฎหมายขึ้นใหม่ [ร่างพระราชบัญญัติ
คนเข้าเมือง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....] แม้ต่อมาค าดังกล่าวจะหายไป ประเด็นที่น่าสนใจในมติคณะรัฐมนตรีนี้
เกี่ยวกับการจัดการการย้ายถิ่นแบบไม่ปกติมี 3 ประการ ได้แก่
ประการแรก ส านักงานต ารวจแห่งชาติโดยเฉพาะอย่างยิ่งส านักงานตรวจคนเข้าเมือง (สตม.) เป็น
ผู้รับผิดชอบหลักในระบบคัดกรองคนเข้าเมืองผิดกฎหมายที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการให้มีขึ้นตามผล
การพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 2 กฎหมายเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน การสร้าง
ระบบคัดกรองนี้ใช้การออกระเบียบที่เรียกว่า “ร่างระเบียบส านักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารจัดการคน
เข้าเมืองผิดกฎหมายและผู้ลี้ภัย พ.ศ. ....” เป็นที่น่าสังเกตว่าปรากฏค าว่า “ผู้ลี้ภัย” อยู่ในชื่อร่างระเบียบ
(ศศิธร มงคลสืบสกุล, สัมภาษณ์, 22 มีนาคม 2562) ส านักงานต ารวจแห่งชาติเป็นผู้รับผิดชอบน าร่างระเบียบ
นี้ไปพิจารณาร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ได้แก่ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน
[102]