Page 120 - kpiebook62002
P. 120

ผู้ย้ายถิ่นแบบไม่ปกติอย่างชาวโรฮิงญายังแสดงให้เห็นถึงความซับซ้อนในการจัดการปัญหาตามแนวคิด

               “ผู้หลบหนีเข้าเมือง” มากขึ้น โดยมากไม่สามารถกลับประเทศจึงได้แต่กักตัวไว้ เนื่องจากชาวโรฮิงญาไม่มี
               สัญชาติ ไม่มีสถานะเป็นพลเมืองของเมียนมา จ านวนมากพูดภาษาพม่าไม่ได้ อีกทั้งไม่สามารถเดินทางกลับจาก

               ชายแดนไทยไปยังรัฐยะไข่ที่มีระยะทางไกล ส่วนที่ถูกผลักดันออกนอกประเทศจ านวนมากยังคงตกค้างอยู่

               บริเวณชายแดน การผลักดันออกนอกประเทศตามกฎหมายคนเข้าเมืองจึงไม่ประสบความส าเร็จและกลายเป็น
               การแก้ไขปัญหาชั่วคราวเท่านั้น ซ้ าร้ายการแก้ปัญหาดังกล่าวกลับเป็นการเปิดช่องให้เกิดการลักลอบขนย้ายคน

               และค้ามนุษย์โดยขบวนการน าพาและค้ามนุษย์ในบริเวณชายแดนดักรอชาวโรฮิงญาที่ถูกผลักดันออกนอก

               ประเทศเพื่อน ากลับเข้ามาในประเทศใหม่อีกครั้งมากขึ้นเรื่อยๆ (ศิววงศ์ สุขทวี, 2557)
                       ยุทธศาสตร์หลักที่ไทยใช้รับมือผู้หลบหนีเข้าเมืองเช่นนี้ คือ ยุทธศาสตร์แก้ปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองทั้ง

               ระบบ (2555) ซึ่งได้รับความเห็นชอบตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2013 แต่ยังไม่มีผลบังคับใช้

               และไม่ได้มีการขับเคลื่อนโดยกระทรวงต่างๆ น าไปด าเนินการ เนื่องจาก “ร่างระเบียบส านักนายกรัฐมนตรีว่า
               ด้วยการบริหารจัดการคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย” เพื่อจัดตั้ง “คณะกรรมการบริหารคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย”

               ซึ่งจะเป็นกลไกบริหารจัดการยุทธศาสตร์นั้น ไม่ทันเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบเพราะเกิดเหตุที่ต้องยุบ

               สภาไปก่อน อีกทั้งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่เข้ามาบริหารประเทศนับแต่ ค.ศ. 2014 ได้เชิญ
               ส านักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติไปหารือและให้ระงับยุทธศาสตร์ดังกล่าวไว้ โดยเปลี่ยนมาจัดตั้ง

               “คณะกรรมการนโยบายจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์” (กนร.) เป็นกลไกแก้ปัญหาแก้ปัญหา

               เฉพาะหน้าแทน (พรรษา ศิริมาจันทร์, ม.ป.ป.) ต่อมาในปี 2016 ส านักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติได้ส่ง
               หนังสือถึงรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมพลเอกประวิตร วงศ์สุวรรณ

               เพื่อทบทวนยุทธศาสตร์นี้ใหม่โดยจัดการประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและการประชุมคณะอนุกรรมการมา

               3-4 ครั้ง ซึ่งการด าเนินการคืบหน้าไปเกือบเสร็จสมบูรณ์แล้ว (นิติพรรณ แสงศิลา, สัมภาษณ์, 22 มีนาคม
               2562) ส านักงานสภาความมั่นคงได้จัดประชุมพิจารณาทบทวนและระดมความเห็นในการจัดท าร่าง

               ยุทธศาสตร์ฯ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2561 หารือเกี่ยวกับหลักการและกรอบคิดการจัดท า ความเหมาะสมของ

               เนื้อหา ตลอดจนรูปแบบกลไกการบริหารจัดการ (ส านักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ, 2561)
                       ส าหรับยุทธศาสตร์ในการแก้ปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองทั้งระบบนั้น พิจารณาจากฉบับมติคณะรัฐมนตรี

               24 เมษายน 2013 ในภาพรวมแสดงให้เห็นว่ามุ่งเน้นแก้ปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองที่มีอยู่มากกว่า 3 คน โดย

               ค านึงทั้งการรักษา “ความมั่นคงของชาติ” และการดูแล “สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน” มียุทธศาสตร์ย่อย 4
               ยุทธศาสตร์ ได้แก่ การจัดการปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองที่อยู่ในประเทศไทย ป้องกันการหลบหนีเข้ามาใหม่ การ

               เสริมสร้างความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมือง และการบริหาร

               จัดการ โดยก าหนดหน่วยรับผิดชอบหลักส าหรับหลบหนีเข้าเมือง 4 ประเภทและยุทธศาสตร์ย่อย 4
               ยุทธศาสตร์ ดังนี้

                       ผู้หลบหนีเข้าเมืองที่อยู่ในประเทศไทยมีหน่วยงานรับผิดชอบหลักตามแต่ประเภทของผู้หลบหนีเข้า

               เมือง ได้แก่ (1) กระทรวงมหาดไทยรับผิดชอบกลุ่มที่เดินทางกลับประเทศต้นทางไม่ได้ประมาณ 6.8 แสนคน




                                                          [104]
   115   116   117   118   119   120   121   122   123   124   125