Page 121 - kpiebook62002
P. 121
ซึ่งชนกลุ่มน้อยและกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ (2) กระทรวงแรงงานรับผิดชอบกลุ่มที่มีความจ าเป็นทางเศรษฐกิจอย่าง
แรงงานต่างด้านหนีเข้าเมือง 3 สัญชาติ พม่า ลาว และกัมพูชา จ านวนไม่ต่ ากว่า 2 ล้านคน (3) ส านักงานสภา
ความมั่นคงแห่งชาติรับผิดชอบกลุ่มที่มีปัญหาความมั่นคงเฉพาะ จ านวน 4 แสนคน แบ่งเป็นผู้หนีภัยการสู้รบ
จากพม่า ผู้หลบหนีเข้าเมืองชาวโรฮิงญา ชาวเกาหลีเหนือ และ (4) ส านักงานต ารวจแห่งชาติรับผิดชอบผู้
หลบหนีเข้าเมืองอื่นๆ อาทิ กลุ่มที่เข้ามาถูกต้องแต่ลักลอบอยู่ต่อ และมีพฤติการณ์เป็นภัยต่อความสงบ
เรียบร้อยของประเทศ แต่หากเป็นการหลบหนีเข้ามาใหม่อยู่ภายในความรับผิดชอบของกองทัพไทย ส าหรับ
การเสริมสร้างความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองเป็นหน้าที่ของ
กระทรวงการต่างประเทศ
ส าหรับโครงสร้างการบริหารจัดการ มีการน าเสนอแนวคิดในการจัดตั้ง “คณะกรรมการอ านวยการ
บริหารยุทธศาสตร์แกปญหาผู้หลบหนีเขาเมืองทั้งระบบ” (กอ.ปร.) โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน
เลขาธิการสภาความมั่นคงแหงชาติเป็นเลขานุการ ท าหนาที่ก าหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ มาตรการ และ
อ านวยการก ากักบดูแลการด าเนินการตามยุทธศาสตร์ฯ รวมทั้งรายงานผลการด าเนินการต่อสภาความมั่นคง
แหงชาติและคณะรัฐมนตรี และใหจัดตั้งคณะกรรมการสนับสนุนการด าเนินงานที่เรียกว่า “คณะกรรมการ
บริหาร” ใน 5 ด้าน ได้แก่ การแกปญหาสถานะและสิทธิของบุคคล ฐานข้อมูลผู้หลบหนีเขาเมือง แรงงานต่าง
ด้าวหลบหนีเข้าเมือง การแก้ปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองกลุ่มเฉพาะ และฐานข้อมูลคนเข้าเมือง รวมถึงพัฒนา
และ/หรือจัดตั้งศูนย์สารสนเทศที่สามารถสนับสนุนและเชื่อมโยงข้อมูลกันไดระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวของทั้ง
กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงแรงงาน กองอ านวยการรักษาความมั่นคงภายใน
ราชอาณาจักร ส านักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง ส านักงานตรวจคนเข้าเมือง จัดตั้งศูนย์ประสานงาน
แกปญหาผู้หลบหนีเขาเมืองโดยใหกองอ านวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ท าหนาที่
ประสานการปฏิบัติและติดตามประเมินผล และรายงานตอคณะกรรมการอ านวยการฯ ทุก 6 เดือน
3.2.2 กลไกเชิงปราบปราม
หน่วยงานไทยที่ถือเป็นกลไกหลักในการแก้ปัญหามักเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับงาน
ด้านความมั่นคง เช่น กองอ านวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ส านักงานสภาความ
มั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ส านักงานตรวจคนเข้าเมือง ส านักงานต ารวจแห่งชาติ ส่วนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการ
ย้ายถิ่นแบบไม่ปกติทางทะเล เช่น กองทัพเรือ ศูนย์อ านวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.)
การใช้หน่วยงานในการปราบปรามขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของผู้ย้ายถิ่นแบบไม่ปกติอย่างชาวโรฮิงญา
กล่าวคือ หากเข้าถึงแนวชายฝั่ง เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ต ารวจ กองก าลังป้องกันชายแดน และต ารวจน้ า จะ
ด าเนินการจับกุมก่อนส่งมอบให้ต ารวจตรวจคนเข้าเมืองด าเนินคดี แต่หากยังอยู่ในน่านน้ าไม่ขึ้นฝั่ง กองทัพเรือ
ไทยรับผิดชอบผลักดันออกนอกเขตน่านน้ าไทย พร้อมด้วยความช่วยเหลือพื้นฐาน เช่น อาหาร น้ าดื่ม และ
น้ ามันเชื้อเพลิง (ศิววงศ์ สุขทวี, 2557, น. 211–212)
[105]