Page 126 - kpiebook62002
P. 126

สุดท้ายของคณะกรรมาธิการที่ปรึกษารัฐยะไข่ที่มีนาย Kofi Annan อดีตเลขาธิการสหประชาชาติเป็นประธาน

               (สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี, สัมภาษณ์, 22 มีนาคม 2562)
                      ข้อจ ากัดส าคัญอีกประการหนึ่ง คือ การบังคับให้แต่ละรัฐด าเนินการ โดยเฉพาะข้อตกลงในเรื่องการ

               ย้ายถิ่นไม่ปกติส่วนใหญ่ไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย ซึ่งเป็นเรื่องปกติในระดับโลกเช่นเดียวกันอย่างข้อตกลง

               ระดับโลกว่าด้วยการย้ายถิ่นที่ปลอดภัย เป็นระเบียบ และปกติ (Global Compact for Safe, Orderly and
               Regular Migration) เนื่องจากสภาพปัญหาการย้ายถิ่นนั้นเชื่อมโยงกับเรื่องอ านาจอธิปไตยและผูกอยู่กับ

               ประเด็นความมั่นคงของประเทศ โดยเฉพาะการยึดมั่นในหลักการไม่แทรกแซง ซึ่งรัฐจ านวนมากยังไม่พิจารณา

               แบบเดียวกับการค้ามนุษย์ซึ่งเป็นภัยคุกคามข้ามชาติที่ต้องการพัฒนาความตกลงที่มีผลผูกพันทางกฎหมายเพื่อ
               น าไปสู่การด าเนินการร่วมกัน

                      ดังนั้นความร่วมมือในอาเซียนที่ไทยผลักดันให้เกิดความร่วมมือนั้นจึงมักมีรูปแบบเฉพาะกิจและมุ่งดึง

               ให้ประเทศที่เกี่ยวข้องแม้จะไม่อยู่ในอาเซียนก็ตามเข้าร่วม โดยในช่วง ค.ศ. 2015–2016 ไทยมีส่วนริเริ่มการ
               ประชุมพหุภาคีในระดับอาเซียน 5 เวที เรียงตามล าดับเวลา ดังนี้ (1) การประชุมระดับรัฐมนตรีว่าด้วยการ

               เคลื่อนย้ายแบบไม่ปกติของคนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Ministerial Meeting on Irregular Movement

               of People in Southeast Asia) วันที่ 20 พฤษภาคม 2015 (2) การประชุมวาระพิเศษว่าด้วยการย้ายถิ่นแบบ
               ไม่ปกติในมหาสมุทรอินเดีย (Special Meeting on Irregular Migration in the Indian Ocean) ครั้งที่ 1

               วันที่ 29 พฤษภาคม 2015 (3) การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ วาระเร่งด่วน

               (Emergency ASEAN Ministerial Meeting on Transnational Crime: EAMMTC) วันที่ 2 กรกฎาคม 2015
               (4) การประชุมวาระพิเศษว่าด้วยการย้ายถิ่นแบบไม่ปกติในมหาสมุทรอินเดีย ครั้งที่ 2 วันที่ 3–4 ธันวาคม

               2015 และผลสืบเนื่องจากการประชุม (อนุสรณ์ ชัยอักษรเวช และ ณัฐณพัศ พิพัฒน์รัตนเสรี, 2562) ในส่วน

               สุดท้ายเป็นการน าเสนอบทบาทของอาเซียนในการช่วยแก้ไขปัญหาการส่งกลับผู้พลัดถิ่นในรัฐยะไข่ใน ค.ศ.
               2019 ซึ่งเป็นช่วงวาระการเป็นประธานอาเซียนของไทย



                       3.3.1  การประชุมระดับรัฐมนตรีว่าด้วยการเคลื่อนย้ายแบบไม่ปกติของคนในเอเชียตะวันออกเฉียง
                            ใต้ (Ministerial Meeting on Irregular Movement of People in Southeast Asia)



                            รัฐมนตรีต่างประเทศไทยร่วมกับรัฐมนตรีต่างประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซียในฐานะประเทศ
               ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการย้ายถิ่นแบบไม่ปกติในอาเซียนโดยเฉพาะกรณีชาวโรฮิงญา จัดประชุมระดับ

               รัฐมนตรีว่าด้วยการเคลื่อนย้ายแบบไม่ปกติของคนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Ministerial Meeting on

               Irregular Movement of People in Southeast Asia) ที่เมืองปูตราจายา ประเทศมาเลเซีย ในวันที่ 20
               พฤษภาคม 2015 เพื่อพิจารณาหาแนวทางแก้ไขวิกฤตการณ์การทะลักเข้ามาของผู้ย้ายถิ่นแบบไม่ปกติและ

               ผลกระทบที่รุนแรงของการย้ายถิ่นดังกล่าวต่อความมั่นคงแห่งชาติของประเทศที่ได้รับผลกระทบ







                                                          [110]
   121   122   123   124   125   126   127   128   129   130   131