Page 124 - kpiebook62002
P. 124
กล่าวโดยรวม เมื่อพิจารณาตามภารกิจของแต่ละหน่วยงานจะเห็นได้ว่าค่อนข้างครอบคลุมการย้ายถิ่น
แบบไม่ปกติแล้ว ไม่ว่าจะในเรื่องจ านวนหรือมิติทางอ านาจหน้าที่ เช่น ต ารวจบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ
การค้ามนุษย์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงแรงงาน กระนั้นก็ตาม จ านวน
ชาวโรฮิงญาที่เข้ามาในไทยจ านวนมากก็สะท้อนให้เห็นถึงการขาดแนวทางรองรับของทางการไทย การท างาน
ไม่ดีนักเป็นการบริหารจัดการแบบวันต่อวัน มีปัญหาในทางปฏิบัติ เช่น ไม่มีพนักงานสืบสวนสอบสวนเพียงพอ
ในการตรวจสอบที่มาของคนเหล่านี้ การพิจารณาใช้เวลาค่อนข้างนานส่งผลให้ผู้ที่ถูกจับกุมต้องอยู่ห้องขังเป็น
เวลานานในสถานกักกันคนต่างด้าวของส านักงานตรวจคนเข้าเมืองและศูนย์พักพิงของรัฐ (Fortify Rights,
2559) การคุ้มครองพยานไม่มีประสิทธิภาพ ผู้เสยหายกังวลเรื่องความปลอด รวมถึงการที่เจ้าหน้าที่รัฐเข้ามา
เกี่ยวข้อง สร้างภาพลักษณ์ทีไม่ต่อประเทศ สิ่งที่ต้องค านึงถึง คือ การบูรณาการหน่วยงานเหล่านี้เพื่อจัดการกับ
การย้ายถิ่นแบบผสม (mixed migration) โดยเฉพาะมิติที่ซับซ้อนของการย้ายถิ่นแบบไม่ปกติซึ่งมีทั้งเหตุผล
ทางเศรษฐกิจ หรือหนีการประหัตประหารในประเทศ มีผู้ติดตามทั้งที่เป็นผู้สูงอายุ สตรี เด็ก จึงต้องมองเรื่อง
สิทธิมนุษยชนด้วยนอกเหนือจากการมองแต่มิติความมั่นคง (นิติพรรณ แสงศิลา, สัมภาษณ์, 22 มีนาคม 2562)
กลไกรับมือปัญหาการย้ายถิ่นแบบไม่ปกติระดับชาติมี "ระบอบการป้องกัน" (prevention regime) ที่
เด่นชัด สังเกตได้จากกลไกเชิงปราบปรามที่มีครบถ้วนโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้หน่วยงานด้านความมั่นคงเพื่อ
การปราบปรามผู้ย้ายถิ่นแบบไม่ปกติด้วยการจับกุมด าเนินคดีตามกฎหมายและผลักดันออกนอกประเทศ
อย่างไรก็ตามกลไกนี้ไม่ได้ช่วยให้แก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืนหรือมีประสิทธิภาพเพียงพอเมื่อเผชิญกับภาวะวิกฤต
โดยเฉพาะที่มีผู้ย้ายถิ่นจ านวนมากเข้ามาหรือที่มีสาเหตุที่หลากหลายและซับซ้อนซึ่งเป็นธรรมชาติของการย้าย
ถิ่นแบบไม่ปกติที่มีลักษณะผสม สิ่งที่ต้องเร่งปรับปรุง คือ กลไกเชิงนโยบายซึ่งยังไม่เกิดการบริหารผู้ย้ายถิ่น
แบบไม่ปกติ หรือที่ทางการไทยยังคงใช้ค าว่า "คนเมืองผิดกฎหมาย" เช่น คณะกรรมการบริหารคนเข้าเมืองผิด
กฎหมาย คณะกรรมการอ านวยการบริหารยุทธศาสตร์แก้ปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองทั้งระบบ กรมกิจการคนเข้า
เมือง ยุทธศาสตร์แก้ปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองทั้งระบบที่มีระเบียบส านักนายกรัฐมนตรีรองรับเพื่อขับเคลื่อนให้
ทุกหน่วยงานน าไปปฏิบัติได้ นอกเหนือจาก "ระบอบการป้องกัน" (prevention regime) ไทยควรหันมาพัฒนา
"ระบอบการคุ้มครอง" (protection regime) อย่างน้อยที่สุดก็ในการดูแล "สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน" ของผู้
ย้ายถิ่น ซึ่งจะช่วยให้การแก้ไขปัญหาเป็นไปอย่างรอบด้านและยั่งยืน
3.3 ความร่วมมือของอาเซียน
ความร่วมมือของอาเซียนที่มีอยู่ในการจัดการการย้ายถิ่นแบบไม่ปกติไม่ได้มีกรอบการท างานที่ชัดเจน
เหมือนการค้ามนุษย์และอาจยังไม่เพียงพอต่อการจัดการปัญหาที่มีลักษณะซับซ้อนเช่นนี้ แม้อาเซียนจะบูรณา
การกันเป็นประชาคมเดียวกันอยู่ก็ตาม แต่อาเซียนไม่ได้พัฒนากลไกการจัดการผู้ย้ายถิ่นที่เป็นแรงงานไร้ฝีมือ
ในขณะที่แรงงานมีทักษะกลับมีความพยายามหารือและสร้างความร่วมมือในระดับภูมิภาคเพื่อให้สอดคล้องกับ
[108]