Page 127 - kpiebook62002
P. 127

อย่างไรก็ตาม เมื่อเผชิญกับการย้ายถิ่นแบบไม่ปกติในปี 2015 ไทยมองว่าประเทศตนเป็นแค่

               “ทางผ่าน” ของโรฮิงญา ต้องการกลับไปหารือในด้านกฎหมายอีกครั้ง ซึ่งแสดงออกโดยท่าทีของรัฐมนตรี
               ต่างประเทศไทยในขณะนั้น พลเอกธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร ที่มาประชุมเวทีนี้แต่กลับไม่ร่วมในการแถลงข่าว

               (Thai PBS, 2558) ผลของการประชุม คือ แถลงการณ์ร่วม (Joint Statement) ซึ่งยอมรับสถานการณ์เชิง

               มนุษยธรรมของวิกฤตการณ์ที่มีความร้ายแรงอย่างมากและแสดงความกังวลอย่างยิ่งต่อสภาพที่เลวร้ายของผู้
               ย้ายถิ่นแบบไม่ปกติที่รวมถึงผู้ที่ขณะนั้นอยู่ในทะเลหลวงโดยเฉพาะสตรีและเด็ก โดยเน้นย้ าว่าได้ด าเนิน

               มาตรการที่จ าเป็นบนพื้นฐานหลักมนุษยธรรมนอกเหนือจากพันธกรณีระหว่างประเทศเพื่อจัดการการทะลัก

               เข้ามาของผู้ย้ายถิ่นแบบไม่ปกติ ซึ่งไม่สามารถจัดการเพียงล าพังโดยสามประเทศได้ นอกจากนี้ยังได้ประณาม
               อย่างรุนแรงต่อการลักลอบขนย้ายคน (people smuggling) และการค้ามนุษย์ (human trafficking) และ

               แสดงความตั้งใจของรัฐบาลที่จะด าเนินมาตรการที่จ าเป็นอย่างต่อเนื่องทั้งโดยแต่ละรัฐบาลเองและร่วมกันเพื่อ

               น าตัวผู้กระท าความผิดร้ายแรงดังกล่าวเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม (Ministry of Foreign Affairs, Malaysia,
               2015)

                       ส าหรับแนวทางแก้ไขวิกฤตการณ์อย่างรอบด้านและยั่งยืนนั้น ประเทศทั้งสามที่ได้รับผลกระทบคง

               บทบาทเป็นเพียงผู้เตรียมการช่วยเหลือและท างานอย่างต่อเนื่องด้วยวิธีการที่สร้างสรรค์กับฝ่ายต่างๆ ที่
               เกี่ยวข้อง โดยจะยึดมั่นความรับผิดชอบและพันธกรณีภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศและสอดคล้องกับ

               กฎหมายภายในประเทศที่เกี่ยวข้องโดยรวมถึงข้อบทด้านความช่วยเหลือเพื่อมนุษยธรรมต่อผู้ย้ายถิ่นแบบไม่

               ปกติ โดยตกลงก าหนดพื้นที่อยู่อาศัยและจัดตั้งคณะท างานร่วมเพื่อบริหารจัดการผู้ย้ายถิ่นในพื้นที่ดังกล่าว
               ฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจะต้องเข้ามาช่วยระบุและจัดการบรรดาสาเหตุพื้นฐานและปัจจัยที่มีส่วนต่อการทะลัก

               เข้ามาของผู้ย้ายถิ่นแบบไม่ปกติ โดยเฉพาะประชาคมระหว่างประเทศต้องให้การสนับสนุนที่จ าเป็นต่อประเทศ

               ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ในการจัดการปัญหา เช่น การให้ความช่วยเหลือทางการเงินส าหรับจัดหาที่พัก
               อาศัยชั่วคราวและความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมต่อผู้ย้ายถิ่นแบบไม่ปกติที่อยู่ในความเสี่ยงในขณะนั้น รวมไป

               ถึงการรับผิดชอบการส่งผู้ย้ายถิ่นแบบไม่ปกติกลับประเทศเดิมหรือตั้งถิ่นฐานใหม่ในประเทศที่สามภายใน

               ระยะเวลาหนึ่งปี


                       3.3.2  การประชุมวาระพิเศษว่าด้วยการย้ายถิ่นแบบไม่ปกติในมหาสมุทรอินเดีย (Special

                            Meeting on Irregular Migration in the Indian Ocean) ครั้งที่ 1


                            การประชุมนี้จัดขึ้นภายหลังมีเสียงเรียกร้องจากนานาชาติต่อการปฏิบัติผู้อพยพทางเรือทั้งจาก

               องค์การระหว่างประเทศ เช่น ส านักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ส านักงาน
               ข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR) องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน

               (IOM) (Office of the United Nations High Commissioner for Refugees, 2015a) องค์การนอกภาครัฐ

               ระหว่างประเทศอย่าง Amnesty International และ Human Rights Watch เสียงเรียกร้องนี้มีทั้งการ




                                                          [111]
   122   123   124   125   126   127   128   129   130   131   132