Page 132 - kpiebook62002
P. 132
การเข้าไปมีบทบาทของอาเซียนเริ่มต้นขึ้นอย่างจริงจังในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน
อย่างไม่เป็นทางการ (ASEAN Foreign Ministers’ Retreat) ในวันที่ 18 มกราคม 2019 ที่เชียงใหม่ ซึ่งไทย
เริ่มท าหน้าที่ประธานอาเซียนและรับบทบาทส่ง “คณะประเมินความจ าเป็น” (Needs Assessment Mission)
ของ AHA Centre เข้าไปสนับสนุนรัฐบาลเมียนมา การคงวาระเกี่ยวกับสถานการณ์ในรัฐยะไข่อย่างต่อเนื่อง
เช่นนี้รวมถึงความพยายามผลักดันให้เกิดการด าเนินการที่อาเซียนเข้าไปมีบทบาทย่อมเป็นการสร้างความ
เชื่อมั่นของประชาคมระหว่างประเทศต่อการจัดการย้ายถิ่นชาวโรฮิงญาของเมียนมา
รายงาน “การประเมินผลความจ าเป็นเบื้องต้น” (Preliminary Needs Assessment: PNA) ในยะไข่
และการประชุมประสานงานทางยุทธศาสตร์ระดับสูง (High-Level Strategic Coordination Meeting) เป็น
เครื่องมือและกลไกหลักในการอ านวยการส่งกลับผู้พลัดถิ่นในรัฐยะไข่ อาเซียนและรัฐบาลเมียนมาตกลงเริ่ม
มาตรการทางปฏิบัติโดยทันทีเพื่อบรรเทาสถานการณ์ในรัฐยะไข่หลังจากการประชุมประสานงานทาง
ยุทธศาสตร์ระดับสูง ครั้งที่ 2 (2nd High-Level Strategic Coordination Meeting) ระหว่างเลขาธิการ
อาเซียน Lim Jock Hoi และผู้อ านวยการบริหาร AHA Centre Adelina Kamal และผู้แทนอาเซียน กับ
เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงหลักของเมียนมาและรัฐยะไข่ ที่กรุงเนปยีดอ เมียนมา ในวันที่ 27 พฤษภาคม
2019 หลังจากจัดการประชุมประสานงานทางยุทธศาสตร์ระดับสูงครั้งแรกในเดือนธันวาคม 2018 ซึ่งวางแผน
การด าเนินการทางปฏิบัติเพื่อด าเนินการฝึกประเมินผลความจ าเป็นตามที่ผู้น าอาเซียนเรียกร้องในการประชุม
สุดยอดอาเซียนที่สิงคโปร์เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2018 ให้อาเซียนมีบทบาทอ านวยการกลับประเทศของชุมชน
ผู้พลัดถิ่นในรัฐยะไข่ ซึ่งเสริมความช่วยเหลือของประเทศอาเซียนต่อเมียนมาและผู้พลัดถิ่นในระดับทวิภาคีทั้งที่
เป็นเงินและไม่ใช่เงินอันรวมถึงการให้ความช่วยเหลือเพื่อมนุษยธรรมและบริการขั้นพื้นฐาน เช่น สุขภาพ
การศึกษา ความช่วยเหลือทางเทคนิค และความช่วยเหลือด้านการด ารงชีพ (ASEAN, 2019)
มาตรการทางปฏิบัติตามรายงานการประเมินผลความจ าเป็นเบื้องต้นในยะไข่ซึ่ง “ท าได้ไม่ยากเห็นผล
เร็ว” เพื่อปูทางการส่งกลับผู้พลัดถิ่นในรัฐยะไข่ ได้แก่ การด าเนินโครงการสร้างสมรรถนะในประเทศส าหรับทีม
ประเมินและตอบสนองสถานการณ์ฉุกเฉินอาเซียน (ASEAN-Emergency Response and Assessment
Team) ที่ตั้งอยู่ในเมียนมาเพื่อสนับสนุนกระบวนการส่งกลับเมื่อเริ่มขึ้น จัดตั้ง “คณะท างานทางเทคนิค”
(technical working group) ที่ประกอบด้วยผู้แทนของส านักเลขาธิการอาเซียน AHA Centre และกิจการ
สหภาพเพื่อความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม การตั้งถิ่นฐานใหม่ และการพัฒนาในรัฐยะไข่ (Union Enterprise
for Humanitarian Assistance, Resettlement and Development in Rakhine: UEHRD) กระทรวง
บริหารจัดการภัยพิบัติ เจ้าหน้าที่และผู้เชี่ยวชาญเมียนมาที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เพื่อหารือรูปแบบในรายละเอียดที่
หลากหลายในการด าเนินการตามข้อเสนอแนะในด้านที่มีศักยภาพในการท างานร่วมกันตามที่ระบุในรายงาน
การประเมินผลความจ าเป็นเบื้องต้นในยะไข่ (ASEAN, 2019)
ในภาพรวมแล้ว ความร่วมมือของอาเซียนในช่วงต้นที่ไทยมีส่วนริเริ่มนั้นยังมีลักษณะเฉพาะกิจ โดย
เป็นความพยายามของประเทศที่ได้รับผลกระทบอย่างไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย แสดงการตอบสนองต่อ
[116]