Page 128 - kpiebook62002
P. 128
คุ้มครองผู้ลี้ภัย การยึดมั่นในวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน การเปลี่ยนจากการผลักดัน
ผู้ลี้ภัยกลับ การกดดันเมียนมาให้ยุตินโยบายเลือกปฏิบัติ ไปจนสนับสนุนให้อาเซียนมีบทบาทน า (Caballero-
Anthony, 2018, p. 133) ข้อเสนอและข้อแนะน าหลายประการที่เป็นผลลัพธ์ของการประชุมนี้เกี่ยวข้องกับ
การคุ้มครอง การป้องกัน และการจัดการสาเหตุพื้นฐาน ได้แก่ การตอบสนองเฉพาะหน้าโดยการคุ้มครอง
บุคคลที่ลอยอยู่ในทะเล การป้องกันที่รอบด้านเกี่ยวกับการย้ายถิ่นแบบไม่ปกติ การลักลอบขนย้ายคน และ
การค้ามนุษย์ ตลอดจนการจัดการสาเหตุพื้นฐานและปรับปรุงการด ารงชีพในชุมชนที่อยู่ในความเสี่ยง
รัฐบาลไทยโดยกระทรวงการต่างประเทศจัดการประชุมวาระพิเศษว่าด้วยการย้ายถิ่นแบบไม่ปกติใน
มหาสมุทรอินเดีย ครั้งที่ 1 ในวันที่ 29 พฤษภาคม 2015 ที่กรุงเทพฯ (Ministry of Foreign Affairs of the
Kingdom of Thailand, 2015) โดยมีผู้แทนระดับสูงในระดับเจ้าหน้าที่จ านวน 17 ประเทศและ 3 องค์การ
จากสมาชิกกระบวนการบาหลีเข้าร่วม ได้แก่ ผู้ประสานงานสหประชาชาติประจ าประเทศไทย (United
Nations Resident Coordinator for Thailand) และผู้สังเกตการณ์จาก 3 ประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น
สหรัฐอเมริกา สวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งทั้งญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เป็นสมาชิกกระบวนการบาหลีเช่นกัน รวมทั้งมี
เอกอัครราชทูตและอุปทูตประเทศต่างๆ ประจ ากรุงเทพฯ สังเกตการณ์การประชุม ส่วนสมาชิกอาเซียนที่เข้า
ร่วมมี 8 ประเทศ ยกเว้นบรูไน และสิงคโปร์ ทั้งที่เป็นสมาชิกกระบวนการบาหลีด้วย
ประเทศไทยใช้โอกาสจากการจัดประชุมนี้เพื่อยืนยันพันธกรณีตามประเพณีของรัฐบาลไทยในการรับผู้
ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่นนับแต่ทศวรรษ 1970 ซึ่งมีบุคคลประมาณ 130,000 คนยังคงอยู่ในการดูแลทั้งกรณีผู้อพยพ
ทางเรือจากเวียดนาม ชาวเขมรที่หนีภัยจากสงครามกลางเมือง ฯลฯ อีกทั้งยกระดับความพยายามด้วยการ
จัดตั้งคณะท างานพิเศษเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์มนุษยธรรมเฉพาะหน้าและให้ความช่วยเหลือต่อผู้ย้ายถิ่น
เหล่านั้นที่พบในทะเล โดยจัดเรือ 2 ล าจากกองทัพเรือไว้เป็นฐานลอยน้ าส าหรับให้ความช่วยเหลือที่จ าเป็นและ
ความช่วยเหลือทางการแพทย์ และเครื่องบินจ านวนหนึ่งทั้งจากกองทัพเรือและกองทัพอากาศลาดตระเวนและ
ช่วยเหลือในปฏิบัติการด้านมนุษยธรรม
ประเทศไทยได้ร่วมกับ 4 ประเทศที่ได้รับผลกระทบโดยตรง ได้แก่ บังกลาเทศ อินโดนีเซีย มาเลเซีย
เมียนมา บรรยายสรุปต่อที่ประชุมเกี่ยวกับความพยายามและมาตรการที่แต่ละประเทศด าเนินการอยู่ อีกทั้ง
ยืนยันพันธกรณีโดยสมบูรณ์ที่จะยังคงให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมอย่างเหมาะสมต่อผู้ย้ายถิ่นที่ขณะนั้น
ลอยอยู่ในทะเลและเหยื่อของการค้ามนุษย์ รวมทั้งเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างกันในการบังคับใช้กฎหมาย
และยุติกิจกรรมต่างๆ ของเครือข่ายอาชญากรรม ผลจากการประชุมนี้ได้ข้อเสนอและข้อแนะน าแบ่งได้เป็น 3
ประเด็น ได้แก่ (1) การตอบสนองเฉพาะหน้าโดยการคุ้มครองบุคคลที่ลอยอยู่ในทะเล (2) การป้องกันที่รอบ
ด้านเกี่ยวกับการย้ายถิ่นแบบไม่ปกติ การลักลอบขนย้ายคน และการค้ามนุษย์ และ (3) การจัดการสาเหตุ
พื้นฐานและปรับปรุงการด ารงชีพในชุมชนที่อยู่ในความเสี่ยง
ส าหรับการตอบสนองเฉพาะหน้าโดยการคุ้มครองบุคคลที่ลอยอยู่ในทะเล ประเทศไทย มาเลเซีย
อินโดนีเซีย ได้ด าเนินการการตอบสนองระดับภูมิภาคอยู่แล้วตามที่รับรองแถลงการณ์ร่วมในวันที่ 20
พฤษภาคม 2015 การเพิ่มปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัย การช่วยให้ส านักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อผู้ลี้ภัยแห่ง
[112]