Page 129 - kpiebook62002
P. 129
สหประชาชาติ (UNHCR) และองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) เข้าถึงผู้ย้ายถิ่น การระบุ
ผู้ที่จ าเป็นต้องได้รับการคุ้มครองด้วยกระบวนการคัดกรองที่มีประสิทธิภาพ การให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อการ
คุ้มครองกลุ่มเสี่ยงสูง เช่น สตรี และเด็ก และผู้เยาว์ที่พลัดพราก การเสริมสร้างกลไกการแบ่งปันข้อมูลและข่าว
กรอง การจัดตั้งกลไกหรือหน่วยก าลังเฉพาะกิจร่วมเพื่อบริหารงานและจัดให้มีการสนับสนุนที่จ าเป็น รวมทั้ง
ระดมทรัพยากรของประชาคมระหว่างประเทศตามการร้องขอขององค์การระหว่างประเทศเพื่อสนับสนุนการ
ตอบสนองที่เร่งด่วนในสปริตของการร่วมแบกภาระระหว่างประเทศ
ในการป้องกันที่รอบด้านเกี่ยวกับการย้ายถิ่นแบบไม่ปกติ ไทยและประเทศอื่นจะมุ่งเสริมสร้างการ
บังคับใช้กฎหมายภายในประเทศเพื่อต่อสู้การลักลอบขนย้ายคนและการค้ามนุษย์ และร่วมมือกันในการกวาด
ล้างกลุ่มอาชญากรรมที่เป็นองค์กรข้ามชาติ การระบุจุดติดต่อระดับประเทศ (national contact point) การ
เสริมสร้างปฏิบัติการ การจัดตั้งหน่วยเฉพาะกิจในการสืบสวนพิเศษระหว่างประเทศหลักๆ ที่ได้รับผลกระทบ
การเสริมสร้างการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ และการแบ่งปันข้อมูล การพัฒนาและด าเนินการด้วยการ
ประชาสัมพันธ์ข้อมูลระดับภูมิภาคด้วยสื่อประสม และการสร้างเสริมช่องทางการย้ายถิ่นที่ถูกกฎหมาย พอจ่าย
ได้ และปลอดภัย
ส่วนในการจัดการสาเหตุพื้นฐานและปรับปรุงการด ารงชีพในชุมชนที่อยู่ในความเสี่ยง ให้จัดการปัจจัย
ในพื้นที่ต้นทางรวมถึงการสร้างสมรรถนะของชุมชนท้องถิ่นต่างๆ การจัดหาแรงจูงใจทางเศรษฐกิจเพื่อสร้าง
งานเพิ่มขึ้น ฯลฯ ซึ่งไทยและบางประเทศในอาเซียนอย่างอินโดนีเซียจะได้พยายามจัดการปัญหานี้ด้วยการใช้
ความร่วมมือทวิภาคีกับประเทศต้นทางอย่างเมียนมา
3.3.3 การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ วาระเร่งด่วน (Emergency
ASEAN Ministerial Meeting on Transnational Crime: EAMMTC)
ประเทศไทยร่วมกับมาเลเซียและอินโดนีเซียริเริ่มการเรียกประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้าน
อาชญากรรมข้ามชาติ วาระเร่งด่วน (Emergency ASEAN Ministerial Meeting on Transnational Crime:
EAMMTC) เพื่อพิจารณาการเคลื่อนย้ายแบบไม่ปกติของคนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์
ประเทศมาเลเซีย ในวันที่ 2 กรกฎาคม ค.ศ. 2015 (ASEAN, 2015a) มีผู้เข้าร่วมประกอบด้วยรัฐมนตรีและผู้
แทนที่ก ากับดูแลและมีความรับผิดชอบในด้านการต่อสู้อาชญากรรมข้ามชาติจากสมาชิกอาเซียนทั้งสิบรัฐ
เลขาธิการอาเซียน ผู้แทนของบรูไนดารุสซาลามในฐานะประธานปัจจุบันของที่ประชุมผู้อ านวยการกรมการ
ตรวจคนเข้าเมืองและหัวหน้ากองการกงสุลของกระทรวงการต่างประเทศ (Directors-General of
Immigration Departments and Heads of Consular Affairs Divisions of the Ministries of Foreign
Affairs: DGICM) ผู้แทนของกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา ผู้แทนจากส านักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อ
ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ส านักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC)
องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM)
[113]