Page 133 - kpiebook62002
P. 133
สถานการณ์ดังกล่าวและถือโอกาสเรียกร้องให้ประชาคมระหว่างประเทศเข้ามาร่วมมีบทบาทแบ่งเบาภาระ
ประโยชน์ประการหนึ่งของเวทีเหล่านี้ คือ การดึงให้ประเทศที่เกี่ยวข้องซึ่งอาจอยู่นอกอาเซียนเข้ามาร่วมพูดคุย
กัน ความมุ่งมั่นของไทยในการสร้างเวทีเจรจาร่วมกับประเทศที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องนี้ได้น าผลสรุปไป
พิจารณาในเวทีการประชุมอื่นที่ด าเนินต่อเนื่องและน าไปสู่แนวทางการแก้ไขปัญหาที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น
ดังเช่นการประชุมวาระพิเศษว่าด้วยการย้ายถิ่นแบบไม่ปกติในมหาสมุทรอินเดียครั้งที่ 1 ถือว่ามี
ความส าคัญอย่างมากเพราะเป็นเวทีที่เมียนมาเข้าร่วม และบังกลาเทศซึ่งถือเป็นต้นทางของการย้ายถิ่นแบบไม่
ปกติก็มาร่วมประชุมด้วย ผลสรุปการประชุมรับรองชุดข้อเสนอแนะที่เป็น “roadmap” ส าหรับการแก้ไข
ปัญหาอย่างชัดเจนอันถือเป็นทั้งความพยายามแก้ไขวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนั้น และจัดการกับการ
เคลื่อนย้ายแบบไม่ปกติทางทะเลในภูมิภาคในระยะยาว (Sebastian, 2016, p. 21) ที่ส าคัญที่สุด คือ เวที
เหล่านี้เปิดให้ประเทศนอกกลุ่มอาเซียนอย่างบังกลาเทศเข้ามาร่วมตัดสินใจกับประเทศสมาชิกอาเซียน 4
ประเทศที่ได้รับผลกระทบด้วย แต่สิ่งที่พึงติดตามระวัง คือ การย้ายถิ่นแบบไม่ปกติจะถูกเบี่ยงเป็นเรื่องปัญหา
อาชญากรรมข้ามชาติทั้งการลักลอบขนย้ายคนและค้ามนุษย์ อีกประการหนึ่งที่ประเทศไทยไม่ควรละเลย คือ
ปฏิสัมพันธ์กับองค์การนอกภาครัฐและภาคประชาสังคม ซึ่งแม้จะไม่สามารถด าเนินการตามข้อเรียกร้องได้
อย่างครบถ้วนก็ตาม แต่บรรดาองค์การนอภาครัฐเหล่านี้จะบันทึกเป็นรายงานเพื่อให้ข้อมูลแก่องค์การระหว่าง
ประเทศและรัฐบาลประเทศอื่นๆ เช่น รายงานค้ามนุษย์ (Trafficking in Persons Report: TIP Report) ของ
สหรัฐอเมริกา ที่น ามาใช้ด าเนินนโยบายต่อประเทศไทยด้วย (Sullivan, 2016, pp. 3, 11–13)
หากมองในภาพใหญ่ ไทยให้ผู้ย้ายถิ่นหลายล้านคนอยู่อาศัย ในวาระการเป็นประธานอาเซียนในปี
2019 ไทยควรด าเนินบทบาทประเทศน าในการจัดท ายุทธศาสตร์ระยะยาว เช่น การตั้ง “ศูนย์อาเซียนเพื่อการ
ย้ายถิ่น” (ASEAN Centre on Migration) เป็น think tank ในการให้ข้อเสนอหรือข้อแนะน าเชิงนโยบายที่
ประเทศในภูมิภาคเลือกหยิบไปปรับใช้ในประเทศต่อได้ อีกทั้งยังสอดคล้องกับการที่ไทยเป็น “ศูนย์รวมของ
ภูมิภาค” (regional hub) ในเรื่องแรงงานข้ามชาติ การพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาค และความช่วยเหลือเพื่อ
การพัฒนา (สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี, สัมภาษณ์, 22 มีนาคม 2562)
3.4 ความร่วมมือทวิภาคีของไทย
ความร่วมมือทวิภาคีของไทยกับประเทศที่เป็นต้นทางการย้ายถิ่นแบบไม่ปกติมี 2 ลักษณะ ได้แก่
ความร่วมมือทวิภาคีในการแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการป้องกัน กับการใช้เครื่องมือความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่
ประเทศต้นทาง ความร่วมมือทวิภาคีในการแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการป้องกันมีความส าคัญในระดับปฏิบัติการ
เช่น การมีเวทีการประชุมระหว่างหน่วยงานต ารวจแห่งชาติหรือกองทัพของทั้งสองประเทศแบ่งปันข้อมูลกัน
เป็นปกติเพื่อประโยชน์ในการระวังป้องกัน การสกัดกั้นทางน้ าซึ่งได้ผลจากปริมาณเรือลักลอบขนย้ายคนที่
ลดลง แต่ในส่วนทางบกยังต้องท างานร่วมกันมากขึ้น (ธรรมศักดิ์ วิชชารยะ, สัมภาษณ์, 22 มีนาคม 2562)
นอกจากนี้การท าให้เกิดผลในทางปฏิบัติต้องใช้ความร่วมมือระหว่างประเทศและการใช้กลไกทวิภาคีให้เป็น
[117]