Page 137 - kpiebook62002
P. 137
2. ปฏิญญาคาร์ตาเฮนาว่าด้วยผู้ลี้ภัย (Cartagena Declaration on Refugees) ค.ศ. 1984
ในทศวรรษ 1970 และ 1980 ลาตินอเมริกาต้องเผชิญกับความขัดแย้งทางสังคมหลายด้าน
เนื่องจากการขาดที่ท ากินให้กับชาวนา การกระจายรายได้ที่ไม่เท่าเทียม และการจ ากัดการมีส่วนร่วมทางการ
เมือง ด้วยปัจจัยเหล่านี้ผนวกกับสภาวะของสงครามเย็นระหว่าง 2 ขั้วอ านาจ คือ สหรัฐอเมริกา และสหภาพโซ
เวียตที่สนับสนุนฝ่ายตรงข้ามกันในประเทศนิการากัว เอลซัลวาดอร์ และกัวเตมาลา ก่อให้เกิดสงครามกลาง
เมืองและการขัดกันทางอาวุธ ส่งผลให้มีผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่นภายในกว่า 2 ล้านคน โดยในจ านวนนี้มีเพียง
150,000 คนเท่านั้นที่ได้รับสถานะผู้ลี้ภัยภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. 1951 (Barichello,
2016, p. 197)
เนื่องจากวิกฤตการผลัดถิ่นของประชากรและผู้ลี้ภัยขนานใหญ่นี้ ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1981
Matías Romero Institute of Diplomatic Studies ของกระทรวงการต่างประเทศเม็กซิโกร่วมกับ Instituto
de Investigaciones Jurídicas แห่ง Universidad Nacional Autónoma de México (UNAM) ภายใต้การ
สนับสนุนของ UNHCR จัด “การสัมมนาว่าด้วยการให้ลี้ภัยและความคุ้มครองระหว่างประเทศของผู้ลี้ภัยใน
ลาตินอเมริกา” (Colloquium on Asylum and the International Protection of Refugees in Latin
America) โดยได้ข้อสรุปส าคัญประการหนึ่ง คือ
ในลาตินอเมริกามีความจ าเป็นต้องขยายความคุ้มครองที่เครื่องมือทั้งในระดับสากลและ
ระหว่างอเมริกาให้สถานะผู้ลี้ภัยและผู้แสวงหาการให้ลี้ภัยต่อทุกคนที่หนีจากประเทศตน
เนื่องจากการรุกราน การครอบครองหรือครอบง าจากต่างแดน การละเมิดสิทธิมนุษยชน
ขนานใหญ่หรือสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงความสงบเรียบร้อยของประชาชนอย่างร้ายแรง ใน
ทุกส่วนหรือบางส่วนของดินแดนประเทศต้นทาง (Barichello, 2015, pp. 155–156)
จากพื้นฐานแนวคิดข้างต้น จึงได้พัฒนามาเป็น “ปฏิญญาคาร์ตาเฮนาว่าด้วยผู้ลี้ภัย” (Cartagena
Declaration on Refugees) ในการจัด “สัมมนาว่าด้วยความคุ้มครองระหว่างประเทศของผู้ลี้ภัยในอเมริกา
กลาง เม็กซิโก และปานามา: ปัญหาทางศาลและมนุษยธรรม” ระหว่างวันที่ 19–22 พฤศจิกายน 1984 โดย
University of Cartagena de Indias และ Regional Centre of Third World Studies (CRESET) ภายใต้
การสนับสนุนของรัฐบาลโคลอมเบียและการช่วยเหลือของ UNHCR ได้เพิ่มเติมหลักการห้ามผลักดันกลับ
(non-refoulement) เข้ามา จึงขยายค านิยามจากอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. 1951 และพิธีสาร
เกี่ยวกับสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. 1967 ให้รวมถึงผู้ลี้ภัยที่หนีจากประเทศตนเพราะชีวิต ความปลอดภัย หรือ
เสรีภาพถูกคุกคามจากความรุนแรงที่กลายเป็นเรื่องทั่วไปหรือการรุกรานจากต่างชาติ แม้ปฏิญญานี้ไม่ได้มีผล
ผูกพันเป็นทาง แต่ปฏิญญาคาร์ตาเฮนาฯ กลายเป็นพื้นฐานนโยบายผู้ลี้ภัยและพื้นฐานทางกฎหมายส าหรับการ
ปฏิบัติต่อผู้ลี้ภัยในภูมิภาคที่รวมเข้าไปในกฎหมายชาติของหลายรัฐ (Barichello, 2015, pp. 156–157)
3. ปฏิญญาซันโฮเซว่าด้วยผู้ลี้ภัยและผู้ผลัดถิ่น (San José Declaration on Refugees and
Displaced Persons) ค.ศ. 1994
[121]