Page 140 - kpiebook62002
P. 140

ภูมิภาคจนมาแผนปฏิบัติการเม็กซิโกที่ถือเป็นกลไกระดับภูมิภาคที่เป็นรูปธรรมมากที่สุดในการแก้ปัญหาผู้ผลัด

               ถิ่นของโคลอมเบียที่ได้แสดงให้เห็นถึงความร่วมมือร่วมใจในภูมิภาค (Solidarity) ในการแก้ปัญหาอย่างจริงจัง
               และมองปัญหาเป็นการแบ่งปันความรับผิดชอบ เพื่อส่งเสริมเรื่องของการปกป้องและสิทธิมนุษยชนของผู้ลี้ภัย

               จนมาถึงปฏิญญาบราซิเลียว่าด้วยการคุ้มครองผู้ลี้ภัยและบุคคลไร้รัฐในอเมริกา ค.ศ. 2010 ที่ขยายหลักการไม่

               ผลักดันกลับ รวมข้อพิจารณาเรื่องเพศ อายุ และความหลากหลายเข้าไปในกฎหมายชาติ ไปจนถึงการรับกลไก
               ในการจัดการ “สถานการณ์ใหม่ที่ไม่ได้คาดการณ์ล่วงหน้า” เครื่องมือและกลไกเหล่านี้เป็นแนวทางและ

               แบบอย่างที่ดีส าหรับประเทศในกลุ่มอาเซียนในการสร้างกลไกความร่วมมือเพื่อท างานร่วมกันในอนาคตเพื่อ

               จัดการกับการย้ายถิ่นแบบไม่ปกติที่ยกระดับกลายเป็นวิกฤตการณ์ต่อไปได้



               3.6 สรุปและข้อเสนอแนะ



                       ข้อจ ากัดตั้งต้นของไทยในการจัดการการย้ายถิ่นแบบไม่ปกติ คือ การขาดค านิยามที่ตรงกันเกี่ยวกับ

               “ผู้ย้ายถิ่นแบบไม่ปกติ” ค าที่ใช้ในปัจจุบันอย่างค าว่า “ผู้ลักลอบเข้าเมือง” หรือ “ผู้หลบหนีเข้าเมือง” นั้น

               ส่งผลให้การท างานของหน่วยงานยังคงจ ากัดอยู่กับการป้องกันไม่ให้ผู้ย้ายถิ่นเข้ามาในประเทศด้วยข้อกังวล
               เรื่องความมั่นคง ข้อจ ากัดนี้ส าแดงให้เห็นมากยิ่งขึ้นเมื่อเผชิญปัญหาผู้ย้ายถิ่นแบบไม่ปกติอย่างชาวโรฮิงญาที่

               เข้ามาในไทยจ านวนมากซึ่งมีความซับซ้อนและยุ่งยากพัวพันกับการค้ามนุษย์และการย้ายถิ่นแบบไม่ปกติด้วย

               ลักษณะที่เป็นการย้ายถิ่นแบบผสม และอาจเกิดปัญหาซ้ าได้อีกหากชาวโรฮิงญาจ านวน 1 ล้านคนที่อยู่ในค่ายผู้
               ลี้ภัยในบริเวณชายแดนบังกลาเทศที่ติดกับเมียนมาทะลักออกมาทั้งทางบกและทะเล

                       กลไกรับมือปัญหาระดับชาติของไทยมีลักษณะที่เป็น “ระบอบการป้องกัน” (prevention regime)

               ทั้งต ารวจอย่างส านักงานตรวจคนเข้าเมือง กองทัพเรือ ในเชิงนโยบายพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
               ซึ่งไม่ยืดหยุ่นเพียงพอต่อสภาพปัญหาในปัจจุบันยังเป็นกฎหมายหลักที่ใช้ในการป้องกันผู้ย้ายถิ่นแบบไม่ปกติ

               สิ่งที่ไทยต้องเร่ง คือ การสร้างกลไกเชิงนโยบายที่ทันสมัยรอบด้านอย่างยุทธศาสตร์แก้ปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมือง

               ทั้งระบบไปจนถึงการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารคนเข้าเมืองผิดกฎหมายและผู้ลี้ภัยตามร่างระเบียบส านัก
               นายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารจัดการคนเข้าเมืองผิดกฎหมายและผู้ลี้ภัย พ.ศ. ....  โดยไม่ปล่อยให้ล่าช้าจาก

               การเมืองในระบบราชการซึ่งส่งผลให้ยุทธศาสตร์และคณะกรรมการดังกล่าวยังไม่เกิดขึ้นจริง

                       ความร่วมมือของอาเซียนที่พัฒนาขึ้นในปี 2015 นั้นแม้จะมีลักษณะเฉพาะกิจและอาจยังไม่แสดงให้
               เห็นถึงความพยายามอย่างจริงจังในการจัดการปัญหาการย้ายถิ่นแบบไม่ปกติก็ตาม แต่มีประโยชน์อยู่มากใน

               การดึงให้ประเทศที่เกี่ยวข้องทั้งต้นทางปลายทาง เช่น เมียนมา บังกลาเทศ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ได้ร่วม

               หารือเพื่อแสวงหาทางออกร่วมกัน โดยที่ในปี 2019 ที่ไทยเป็นประธานอาเซียนนี้เห็นถึงแนวโน้มที่อาเซียนเข้า
               ไปมีบทบาทในการส่งกลับผู้ผลัดถิ่นในรัฐยะไข่ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาด้วยการ “ประเมินผลความ

               จ าเป็น” และจัดตั้ง “คณะท างานทางเทคนิค” ที่เป็นการท างานร่วมกันทั้งส านักเลขาธิการอาเซียน ศูนย์

               ประสานงานอาเซียนเพื่อความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการจัดการภัยพิบัติ (AHA Centre) กิจการ


                                                          [124]
   135   136   137   138   139   140   141   142   143   144   145