Page 131 - kpiebook62002
P. 131
ไทยในฐานะประธานที่ประชุมน าเสนอร่าง “วาระปฏิบัติการ” (Action Agenda) เกี่ยวกับการ
ด าเนินการที่เป็นรูปธรรมเพื่อจัดการปัญหาการย้ายถิ่นแบบไม่ปกติในมหาสมุทรอินเดีย อีกทั้งร่วมกับผู้แทนอีก
4 ประเทศ บังกลาเทศ เมียนมา อินโดนีเซีย และมาเลเซีย หารือกันถึงแนวทางจัดการปัญหาดังกล่าวอย่าง
ครอบคลุมและยั่งยืน จากนั้นจึงเป็นการสรุปต่อผู้เข้าร่วมประชุมถึงความพยายามและมาตรการที่แต่ละ
ประเทศด าเนินการโดยรวมถึงความร่วมมือระหว่างรัฐบาลเมียนมาและ UNODC และความร่วมมืออย่างแข็ง
ขันของบังกลาเทศกับประเทศในภูมิภาคเพื่อช่วยเหลือผู้ย้ายถิ่นชาวบังกลาเทศกลับบ้าน
ข้อเสนอประการหนึ่งของไทยต่อที่ประชุม คือ การประชาสัมพันธ์ข้อมูลระดับภูมิภาคในรูปแบบสื่อ
ประสมด้วยการสนับสนุนของ IOM เพื่อเพิ่มความตระหนักถึงความเสี่ยงและอันตรายของการย้ายถิ่นแบบไม่
ปกติ และส่งสัญญาณที่ชัดเจนต่อเครือข่ายอาชญากรรมที่ปฏิบัติการอยู่ในภูมิภาคถึงความเอาจริงเอาจังของ
ประเทศที่เกี่ยวข้องเพื่อต่อต้านการลักลอบขนย้ายคนและการค้ามนุษย์ โดยหวังว่าการประชุมแบบไม่เป็น
ทางการ (Retreat) อีกครั้งในเดือนกุมภาพันธ์ 2016 จะจัดตั้งกลไกที่เหมาะสมระหว่าง 5 ประเทศ โดย
สหรัฐอเมริกาในฐานะหุ้นส่วนระหว่างประเทศมีบทบาทช่วยสนับสนุนกระบวนการนี้ไปตลอด (Royal Thai
Government, 2015)
กระทรวงการต่างประเทศของไทย (2559) สรุปความส าเร็จในการสร้างเวทีเจรจาร่วมกันของรัฐใน
อาเซียนโดยที่ไทยมีบทบาทส าคัญ ได้แก่ ร่าง “วาระปฏิบัติการ” ของไทยที่เสนอต่อที่ประชุมวาระพิเศษว่าด้วย
การย้ายถิ่นแบบไม่ปกติในมหาสมุทรอินเดียครั้งที่ 2 หลายข้อได้รับการบรรจุโดยออสเตรเลียและอินโดนีเซียซึ่ง
เป็นประธานร่วมของกระบวนการบาหลีไว้ในปฏิญญาบาหลีว่าด้วยการลักลอบขนย้ายคน การค้ามนุษย์ และ
อาชญากรรมข้ามชาติที่เกี่ยวข้อง (Bali Declaration on People Smuggling, Trafficking in Persons and
Related Transnational Crime) ในการประชุมรัฐมนตรีระดับภูมิภาคครั้งที่ 6 ในวันที่ 23 มีนาคม 2016 ที่
บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย โดยข้อที่ได้รับการบรรจุ เช่น ประเด็นการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ การส่งเสริมช่องทาง
การย้ายถิ่นอย่างปลอดภัยและถูกกฎหมาย การฝึกอบรมเพื่อเพิ่มศักยภาพให้แก่เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย
การให้องค์การระหว่างประเทศทางมนุษยธรรมเข้าถึงและให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ย้ายถิ่นแบบไม่ปกติ
ความส าคัญของการจัดโครงการประชาสัมพันธ์ข้อมูลเพื่อป้องกันไม่ให้มีผู้ย้ายถิ่นแบบไม่ปกติเพิ่มขึ้น รวมทั้ง
การส่งสัญญาณไปยังขบวนการลักลอบขนคนและค้ามนุษย์ถึงความเคร่งครัดและเข้มงวดของภาครัฐในการ
ปราบปรามอย่างจริงจัง (Bali Process, 2016)
3.3.5 บทบาทของอาเซียนกับการช่วยแก้ไขปัญหาการส่งกลับผู้พลัดถิ่นในรัฐยะไข่ใน ค.ศ. 2019
บทบาทของอาเซียนในการช่วยแก้ปัญหาส่งกลับผู้พลัดถิ่นในรัฐยะไข่เริ่มต้นจากการประชุมสุด
ยอดอาเซียนครั้งที่ 33 ที่สิงคโปร์ในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2018 ซึ่งเมียนมาเชิญศูนย์ประสานงานอาเซียนเพื่อ
ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการจัดการภัยพิบัติ (AHA Centre) ให้ส่งทีมตรวจสอบความจ าเป็นเข้าไป
ระบุขอบเขตความร่วมมือที่เป็นไปได้ในรัฐยะไข่เพื่ออ านวยกระบวนการส่งกลับ (ASEAN, 2018c, no. 37)
[115]