Page 119 - kpiebook62002
P. 119
ส านักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ส านักงานอัยการสูงสุด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แล้วส่งให้ส านักงาน
คณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
ประการที่สอง จัดตั้งคณะกรรมการบริหารคนเข้าเมืองผิดกฎหมายและผู้ลี้ภัยขึ้นใหม่ ในร่างระเบียบ
ส านักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารจัดการคนเข้าเมืองผิดกฎหมายและผู้ลี้ภัย พ.ศ. .... ก าหนดให้มี
“คณะกรรมการบริหารคนเข้าเมืองผิดกฎหมายและผู้ลี้ภัย” ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีซึ่ง
นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วยปลัดกระทรวงจาก 3 กระทรวง ได้แก่
มหาดไทย กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงแรงงาน รวมทั้งอัยการสูงสุด ผู้บัญชาการต ารวจแห่งชาติ
เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ และมีผู้บัญชาการส านักงานตรวจคนเข้าเมือง ส านักงานต ารวจแห่งชาติ
เป็นกรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการนี้มีอ านาจหน้าที่พิจารณาก าหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ มาตรการ
และแนวทางการบริหารจัดการคนเข้าเมืองผิดกฎหมายและผู้ลี้ภัย พิจารณาคัดกรองคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย
และผู้ลี้ภัยกลุ่มต่างๆ ประสานงานและร่วมมือกับรัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐบาลต่างประเทศ องค์การ
ระหว่างประเทศ และองค์กรภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น ส่วนส านักงานเลขานุการของคณะกรรมการฯ เป็น
หน้าที่ของส านักงานตรวจคนเข้าเมือง นอกจากนี้ในร่างระเบียบฯ ก าหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคัดกรองคน
เข้าเมืองผิดกฎหมายและผู้ลี้ภัย
ประการที่สาม การเสนอความเห็นในการจัดตั้งกลไกแบบบูรณาการจัดการผู้ลี้ภัยและผู้อพยพจาก
ส านักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติโดยเรียกว่า “กรมกิจการคนเข้าเมือง” กรมนี้ถือเป็นกลไกและการบริหาร
จัดการในเชิงนโยบายภายใต้ค าสั่งส านักนายกรัฐมนตรีหรือค าสั่งสภาความมั่นคงแห่งชาติ โดยมีระบบคัดกรอง
และการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพในลักษณะที่มีความยืดหยุ่นและอ่อนตัว ควบคู่กับการปฏิบัติตามหลัก
มนุษยธรรมและสิทธิมนุษยชนอย่างเหมาะสม กระทรวงมหาดไทยมีข้อเสนอเกี่ยวกับการปรับปรุงกฎหมายว่า
ด้วยคนเข้าเมืองเพื่อจัดตั้งกรมดังกล่าวว่า ควรพิจารณาศึกษาเชื่อมโยงกับมิติงานด้านความมั่นคงในภาพรวม
เพราะเกี่ยวข้องกับภารกิจอ านาจหน้าที่ของหน่วยงานด้านความมั่นคงอื่นๆ ทั้งฝ่ายทหาร ต ารวจ และศุลกากร
เพื่อน าไปสู่การปฏิรูปทั้งระบบ
จากการเลือกใช้ค าว่า “คนเข้าเมือง” ในกลไกการรับมือเหล่านี้ แสดงให้เห็นแนวทางที่รัฐบาลไทยมุ่ง
ใช้จัดการชาวโรฮิงญาในฐานะ “ผู้หลบหนีเข้าเมือง” โดยเน้นป้องกันไม่ให้เข้ามาในประเทศด้วยการบังคับใช้
กฎหมายจับกุมคุมขังชาวโรฮิงญาที่เข้ามาในประเทศอย่างจริงจังและไม่ให้ได้รับการผ่อนผันให้อยู่ในประเทศ
เช่นเดียวกับคนต่างด้าวจากเมียนมา ลาว และกัมพูชา ซึ่งเป็นการด าเนินการตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง
พ.ศ. 2522 น ามาซึ่งการจับกุมชาวโรฮิงญาที่เข้ามาหลายครั้งยาวนานไม่มีก าหนด หรือถูกผลักดันออกนอก
ประเทศ โดยไม่ค านึงว่ากลับประเทศต้นทางได้หรือไม่ ในส่วนผู้ปฏิบัติงานอย่างเจ้าหน้าที่ไทยก็ประสบปัญหา
การจัดท าทะเบียนประวัติชาวโรฮิงญาที่ถูกจับกุม เพราะขาดแคลนล่ามที่สามารถแปลและสื่อสารให้เข้าใจกัน
ได้เนื่องจากชาวโรฮิงญาไม่ใช้ภาษาเมียนมา แต่ใช้ภาษาโรฮิงญา ซึ่งเป็นการยากที่เจ้าหน้าที่ผู้สอบประวัติและ
ชาวโรฮิงญาจะสื่อสารกันได้ (ศิววงศ์ สุขทวี, 2557)
[103]