Page 116 - kpiebook62002
P. 116
3.1.3 การทะลักออกมาของผู้ย้ายถิ่นแบบไม่ปกติที่ส่งผลกระทบต่อไทย
การย้ายถิ่นแบบไม่ปกติเกิดขึ้นได้จากการทะลักออกมาของคนในพื้นที่ใกล้เคียงที่มีปัญหา ผู้
ย้ายถิ่นอย่างชาวโรฮิงญาพยายามอพยพออกนอกประเทศเมียนมาในปี 2015 หลังจากอพยพไปบังคลาเทศ
จ านวนกว่า 200,000 คน ท าให้ส่วนที่เหลือซึ่งมีทางเลือกเหลืออยู่ไม่มากตัดสินใจลงเรือสู่อ่าวเบงกอล ส่วน
ใหญ่มีความสมัครใจเดินทางโดยอาศัยเครือข่ายขบวนการนอกกฎหมาย แต่มีบางส่วนที่ถูกบังคับ เมื่อเข้ามาถึง
ประเทศไทยกลับถูกขบวนการค้ามนุษย์กักขัง หลังจากนั้นติดต่อญาติพี่น้องของชาวโรฮิงญาให้ส่งเงินมาไถ่ตัว
หลายคนที่ญาติหาเงินมาไถ่ตัวได้ขบวนการก็ส่งตัวออกไป ปัญหาที่ส าคัญ คือ จ านวนมากไม่สามารถออกไปได้
ถูกทุบตี ท าร้ายร่างกาย อดอาหาร ถึงขั้นเสียชีวิต พบศพชาวโรฮิงญาหลายต่อหลายศพ และในหลายจุดของ
ประเทศไทย (ศิววงศ์ สุขทวี, 2558) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหตุการณ์ในปี 2015 ที่มีผู้พบค่ายที่พักและสุสานฝังศพ
ชาวโรฮิงญา บริเวณเทือกเขาแก้วติดชายแดนไทย-มาเลเซีย หมู่ 7 บ้านตะโล๊ะ ต าบลปาดังเบซาร์ อ าเภอสะเดา
จังหวัดสงขลา โดยพบหลุมฝังศพจ านวนมากกว่า 50 หลุม และพบศพเกือบ 30 ศพ เหตุการณ์กลายเป็นที่
สนใจของสื่อและประชาชน (ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์, 2560)
ในขณะที่กลุ่มโรฮิงญาที่ต้องการเดินทางไปประเทศที่สามแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ต้องการ
เดินทางไปประเทศที่สามจริงๆ กลุ่มที่หนีออกมาแต่ยังไม่มีเป้าหมายปลายทาง และกลุ่มที่มาจากบังกลาเทศ
โดยสองกลุ่มแรก คือ กลุ่มที่ต้องการเดินทางไปประเทศที่สามซึ่งจ่ายเงินมาตั้งแต่ปลายทางจากญาติหรือคนที่
รู้จัก โดยอาศัยขึ้นเรือมาเท่านั้น และกลุ่มที่หนีออกมาแต่ยังไม่มีเป้าหมายปลายเนื่องจากมีความจ าเป็นจะต้อง
หนีและพร้อมเผชิญกับอนาคตที่ไม่แน่นอนโดยอาจไม่จ่ายเงิน มักมีอยู่ไม่มาก แต่กลุ่มที่ควรให้ความสนใจเป็น
พิเศษเพราะมีจ านวนมาก คือ กลุ่มที่มาจากบังกลาเทศ บางกลุ่มต้องการจะไปมาเลเซียตรงๆ อาจจ่ายเงินไว้
บ้างจากต้นทางก่อนขึ้นเรือประมาณ 1,000-3,000 บาท แต่จ านวนมากมักไม่จ่ายเงินตั้งแต่ต้นทางหรือจ่าย
น้อยมาก นายหน้าที่รับเงินมาก็จะทยอยส่งคนลงเรือเล็ก เพื่อเดินทางไปขึ้นเรือใหญ่ที่จอดลอยล าอยู่กลางทะเล
ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้เวลารอให้จ านวนคนบนเรือถึงเป้าหมายที่คิดไว้เพื่อให้คุ้มค่าในการเดินทางจึงค่อยออกเรือ
ประมาณ 500 คนขึ้นไป หรือสูงสุดประมาณ 800-900 คนต่อล า ล่องเข้ามาในอ่าวไทย โดยใช้เวลาเดินทาง
ประมาณ 10-15 วัน ก่อนถึงประเทศไทย บางกลุ่มเห็นโอกาสแสวงหาประโยชน์จากผู้ย้ายถิ่นแบบไม่ปกติอย่าง
ชาวโรฮิงญา โดยจ านวนค่าไถ่ที่เรียกในปี 2017 สูงถึงเกือบ 80,000-100,000 บาท เพิ่มขึ้นจากปี 2012 ซึ่งอยู่
ที่ 30,000-40,000 บาท เหตุที่ค่าไถ่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นเพราะขบวนการนอกกฎหมายเหล่านี้ต้องเงินจ่าย
เจ้าหน้าที่ต ารวจ ทหาร ผู้ย้ายถิ่นบางคนอาจโดนเรียกค่าไถ่ถึงสองรอบ (ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์,
2560) แม้ขณะนี้การย้ายถิ่นของชาวโรฮิงญาจะชะงักงันไป แต่กระบวนการย้ายถิ่นแบบไม่ปกติอาจเกิดขึ้นอีก
ครั้งเมื่อบังกลาเทศส่งผู้ย้ายถิ่นนับล้านคนในค่ายที่บังกลาเทศกลับเมียนมา (สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี, สัมภาษณ์,
22 มีนาคม 2562)
[100]