Page 113 - kpiebook62002
P. 113
ในภูมิภาคเอเชียยังเปลี่ยนไปโดยที่ภูมิภาคนี้เริ่มกลายเป็นปลายทางของการย้ายถิ่นรูปแบบต่างๆ อีกทั้งการ
ย้ายถิ่นแบบไม่ปกติก็มีลักษณะผสมมากขึ้น (Caballero-Anthony, 2018, pp. 113-114)
ทว่า ประเทศไทยก็เหมือนกับประเทศอื่นทั่วไปที่ยังคงยึดติดมุมมองความมั่นคงแห่งชาติแบบดั้งเดิม
ซึ่งมองการย้ายถิ่นดังกล่าวว่าเป็นปัญหาของผู้ลักลอบหรือคนต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมายโดยโทษไปที่
ขบวนการค้ามนุษย์ เมื่อพิจารณาในมุมมองความมั่นคงเสียใหม่ ก็อาจจะเริ่มเห็นว่าผู้ย้ายถิ่นเหล่านี้เป็นเหยื่อ
ของการค้ามนุษย์ ทว่ามุมมองดังกล่าวก็ยังคงจ ากัดต่อการคิดหาแนวทางจัดการปัญหาการย้ายถิ่นแบบไม่ปกติ
ที่ยืดเยื้อและเกิดขึ้นซ้ าๆ ได้ การย้ายถิ่นแบบไม่ปกติในปัจจุบันก็มีความซับซ้อนและยุ่งยากมากขึ้น ตัวอย่างเช่น
ชาวโรฮิงญาบางคนไม่ได้ถูกหลอกแต่ต้องการมีชีวิตใหม่ จึงยอมเข้าสู่กระบวนการลักลอบขนย้ายคนซึ่งอาจผัน
แปรเป็นการค้ามนุษย์ได้ (สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี, สัมภาษณ์, 22 มีนาคม 2562)
การย้ายถิ่นแบบไม่ปกติซึ่งกินความทั้งผู้ย้ายถิ่นทางเศรษฐกิจและการเมืองชี้ให้เห็นถึงการยอมรับความ
พัวพันของทั้งสองประเภท ทว่าสิ่งที่พึงระวัง คือ ต้องไม่ให้ค านี้กลายเป็นเพียงค ารื่นหูที่ในทางปฏิบัติใช้เพื่อ
เพิกเฉยความจ าเป็นเชิงมนุษยธรรมเร่งด่วนของผู้ลี้ภัยที่หนีความขัดแย้งและการกดขี่ข่มเหงซึ่งตรงข้ามกับผู้ที่
ย้ายถิ่นเพื่อแสวงหาโอกาสทางเศรษฐกิจ ความพัวพันนี้จะเป็นประโยชน์ในการท าความเข้าใจทางออกทาง
การเมืองต่อปัญหาผู้ลี้ภัยหากไม่พิจารณาแยกขาดจากประเด็นการเคลื่อนของการย้ายถิ่นที่ใหญ่กว่า เช่น การ
แสวงหาผลประโยชน์ที่ร้ายแรงและความเสี่ยงส่วนบุคคลที่ผู้ย้ายถิ่นทางเศรษฐกิจประสบ (Caballero-
Anthony, 2018, p. 121)
ความยุ่งยากยังเกิดขึ้นเมื่อต้องแยกแยะผู้ย้ายถิ่นที่ผสมกันระหว่างผู้ย้ายถิ่นทางเศรษฐกิจกับผู้ลี้ภัย
หรือผู้ย้ายถิ่นที่มีเอกสารถูกต้องกับผู้ที่ถูกค้ามนุษย์หรือลักลอบขนย้ายมา ซึ่งใช้บริการของผู้ลักลอบในลักษณะ
องค์กรและใช้เส้นทางและวิธีการขนส่งเดียวกัน รัฐจึงมักค านึงถึงความมั่นคงโดยใช้ “ระบอบป้องกัน”
(prevention regime) การเข้ามาของผู้ย้ายถิ่นแบบไม่ปกติมากกว่าให้ “ระบอบคุ้มครอง” (protection
regime) วาระความมั่นคงของประเทศที่ส่งและที่รับนี้ยังรวมถึงการจัดการการขาดทรัพยากรและสมรรถนะใน
การติดตามการย้ายถิ่นแบบไม่ปกติประเภทต่างๆ การขาดกฎหมายและกรอบการท างานเชิงกฎระเบียบที่
เข้มงวดขึ้นเพื่อต่อสู้กับอาชญากรรม รวมไปถึงความขัดแย้งทางสังคมที่อาจส่งผลกระทบความเป็นปึกแผ่นใน
สังคม (Caballero-Anthony, 2018, p. 122)
ประเทศไทยก็เช่นเดียวกับหลายประเทศในอาเซียนที่ยังคงขาดกลไกในการคุ้มครองและด าเนินการ
เกี่ยวกับผู้ลี้ภัยและผู้แสวงหาที่ลี้ภัย เนื่องจากไม่ได้เป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย (Convention
Relating to the Status of Refugees) ค.ศ. 1951 ซึ่งมีเพียงฟิลิปปินส์กับกัมพูชาที่เป็นภาคีอยู่ อีกทั้งไม่มี
กฎหมายภายในที่อนุญาตให้คนแสวงหาที่ลี้ภัย ผู้ย้ายถิ่นจึงมักถูกปฏิบัติในฐานะผู้ย้ายถิ่นผิดกฎหมาย ถูกจับกุม
หรือกักตัว (Caballero-Anthony, 2018, p. 132) แต่พอเผชิญกับสถานการณ์จริงในช่วงแรกที่มีชาวโรฮิงญา
ย้ายถิ่นเข้ามาเป็นจ านวนมาก ทางการไทยไม่มีแนวทางรองรับ จัดการปัญหาแบบวันต่อวันไม่มีระบบ ล่ามมีไม่
เพียงพอในการด าเนินการสืบสวนสอบสวน การพิจารณาคดีก็ใช้เวลาค่อนข้างนาน ขาดการคุ้มครองพยาน
ผู้เสียหายกลัวไม่ปลอดภัย เจ้าหน้าที่ภาครัฐมีส่วนเกี่ยวข้อง ก่อให้เกิดภาพลักษณ์ในทางลบ (ผู้แทนส านักงาน
[97]