Page 110 - kpiebook62002
P. 110
ระบบเฝ้าตรวจติดตาม ระบบตรวจคนเมืองด้วย และส่งเสริมศักยภาพและความเข้มแข็งของกองทัพ หน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้อง และภาคประชาชน สร้างเสริมให้เจ้าหน้าที่มีบทบาทและขีดความสามารถที่เหมาะสม (“ร่าง
ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง,” 2561)
การย้ายถิ่นแบบไม่ปกติไม่ได้มีความหมายเหมือนกับ “การย้ายถิ่นผิดกฎหมาย” (illegal migration)
อย่างในกรณีการลักลอบขนย้ายผู้ย้ายถิ่นและค้ามนุษย์ แต่เป็นการเคลื่อนย้ายที่เกิดขึ้นนอกปทัสถานในเชิง
กฎระเบียบของประเทศผู้ส่ง ประเทศทางผ่าน และประเทศผู้รับ โดยรวมถึงการเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย การ
ออกจากประเทศข้ามเขตแดนระหว่างประเทศโดยไม่มีเอกสารที่ถูกต้อง ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลกทั้ง
ภายในภูมิภาคหนึ่งๆ และเป็นผลกระทบจากภูมิภาคหนึ่งไปยังอีกภูมิภาคหนึ่งด้วยหลายสาเหตุ เช่น สงคราม
ความขัดแย้ง ความรุนแรง การละเมิดสิทธิมนุษยชน การค้ามนุษย์ โรคระบาด ฯลฯ อีกทั้งบ่อยครั้งเป็น “การ
ย้ายถิ่นแบบผสม” (mixed migration) ซึ่งหมายถึง การย้ายถิ่นข้ามแดนที่ผสมกันได้ทั้งผู้ย้ายถิ่น ปัจจัยการ
เคลื่อนย้าย สถานะทางกฎหมาย ไปจนถึงความเปราะบาง เช่น ผู้ย้ายถิ่นที่ซึ่งประกอบด้วยผู้ลี้ภัย เหยื่อการค้า
มนุษย์ และผู้แสวงหาชีวิตและโอกาสที่ดีขึ้น เคลื่อนย้ายเพราะหลากหลายปัจจัยอย่างความรุนแรงทางการเมือง
11
โอกาสในชีวิตและเศรษฐกิจ ไปจนถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม มีสถานะทางกฎหมายที่แตกต่าง
กันไปซึ่งอาจเป็นผู้ลี้ภัยหรือผู้ย้ายถิ่น เป็นต้น ใช้เส้นทางและวิธีการเดินทางคล้ายคลึงกัน และบ่อยครั้งเดินทาง
แบบไม่ปกติ โดยที่ทั้งหมดหรือบางส่วนมีผู้ลักลอบขนผู้ย้ายถิ่นช่วยเหลือ (Caballero-Anthony, 2018, p.
117) ค าดังกล่าวนี้มุ่งเน้นผู้ที่อยู่ระหว่างการเคลื่อนย้ายโดยเน้นให้ความคุ้มครองสิทธิมนุษยชนพื้นฐานไม่ว่าผู้
นั้นจะมีสถานะใด และยอมรับว่าปัจจัยที่ผลักดันให้คนเคลื่อนย้ายมีหลากหลาย บ่อยครั้งพัวพันและส่งผลซึ่งกัน
และกัน (Mixed Migration Centre, 2018)
ตัวอย่างที่ส าคัญและส่งผลกระทบต่อประเทศไทยในช่วงหลายปีที่ผ่านมามีทั้งชาวโรฮิงญา ชาวกัมพูชา
คนจากลาวและเมียนมาโดยเฉพาะชนกลุ่มน้อยที่หนีภัยความขัดแย้ง เช่น ชาวโรฮิงญาที่ข้ามอ่าวเบงกอลและ
ทะเลอันดามันในปี 2014 มีประมาณ 6 หมื่นคน และในปี 2015 มีประมาณ 3 หมื่นคน ชาวกัมพูชาจ านวน
มากกว่า 120,000 คนเคลื่อนย้ายแบบไม่ปกติมาที่ไทยในปี 2009 ถูกลักลอบขนย้ายเข้ามาแต่ละปีจ านวน
55,000 คน ทุกๆ ปีมีผู้ย้ายถิ่นจากกัมพูชา เมียนมา และลาวจ านวนมากกว่า 660,000 คนย้ายถิ่นมาไทยโดย
ไม่ได้รับอนุญาต (UNDOC, 2015) เฉพาะในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2018 ประเทศไทยมีผู้ลี้ภัย 97,395 คน ซึ่ง
ส่วนมากเป็นชนกลุ่มน้อยชาวกะเหรี่ยงและกะเหรี่ยงแดง (กะยาห์) หนีความขัดแย้งภายในประเทศเมียนมา
ข้ามชายแดนตะวันออกของประเทศเข้ามาไทยอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลายาวนานกว่า 30 ปี โดยอาศัยอยู่ใน
ค่ายผู้ลี้ภัยหรือพื้นที่พักพิงชั่วคราว 9 แห่งใน 4 จังหวัดตามแนวชายแดนในประเทศไทย (ส านักงานข้าหลวง
ใหญ่ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติ, ส านักงานประจ าประเทศไทย. 2561) ซึ่งชี้เห็นว่า ปรากฏการณ์การย้ายถิ่นเช่นนี้มี
ความซับซ้อนอย่างมากในปัจจุบัน
11 ตัวอย่างเช่น การกดขี่ข่มเหงและความขัดแย้ง ความยากจน การเลือกปฏิบัติ การขาดการเข้าถึงสิทธิต่างๆ ที่รวมถึงการศึกษาและสุขภาพ การ
ขาดการเข้าถึงงานที่มีคุณค่า ความรุนแรง ความเท่าเทียมกันทางเพศ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และความเสื่อมโทรมทางสิ่งแวดล้อม
[94]