Page 109 - kpiebook62002
P. 109

บทที่ 3




                                              ไทยกับการย้ายถิ่นแบบไม่ปกติ




                       การย้ายถิ่นแบบไม่ปกติ (irregular migration) ดูเหมือนเป็นปรากฏการณ์ใหม่ในไทยโดยเฉพาะอย่าง

               ยิ่งเมื่อไทยเผชิญกับการย้ายถิ่นของชาวโรฮิงญาเข้ามาทางทะเลในประเทศไทยหลายหมื่นคนในช่วงปี 2014-

               2015 และกลายเป็นเป็นประเทศปลายทางส าคัญของการย้ายถิ่นแบบไม่ปกติขนานใหญ่ภายในภูมิภาคเอเชีย
               ตะวันออกเฉียงใต้ อย่างไรก็ตาม ไทยเคยเผชิญการย้ายถิ่นขนานใหญ่เช่นนี้ในวิกฤตการณ์ผู้ลี้ภัยชาวอินโดจีนที่

               ด าเนินยาวนานมากกว่า 20 ปีระหว่างปี 1975-1997 แม้การย้ายถิ่นแบบไม่ปกติจะเคยเกิดขึ้นมาแล้วแต่

               ทางการไทยยังไม่มีค านิยามที่ตรงกันเกี่ยวกับแนวคิดนี้และยังคงมองผู้ย้ายถิ่นดังกล่าวในลักษณะ “คนเข้า
               เมือง” ผิดกฎหมาย หรือที่เรียกว่า “ผู้หลบหนีเข้าเมือง” ในขณะที่ในระดับโลกได้เริ่มนิยามและแสวงหา

               แนวทางจัดการย้ายถิ่นแบบไม่ปกติอย่างจริงจังโดยเฉพาะหลังเกิดเหตุการณ์การย้ายถิ่นข้ามทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

               ในปี 2015 ที่มีมากถึง 1 ล้านคน และการย้ายถิ่นของชาวโรฮิงญาเข้าไปในบังกลาเทศถึง 7.5 แสนคนตั้งแต่
               เดือนสิงหาคม 2017 ถึงเดือนธันวาคม 2018 รวมอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยมากกว่า 9 แสนคน (Strategic Executive

               Group, 2019) ที่พร้อมจะทะลักออกมา

                       ในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561–2580 (ค.ศ. 2018–2037) (2561) แม้จะไม่ได้ระบุถึงค าว่า
               “การย้ายถิ่นแบบไม่ปกติ” ไว้โดยตรง แต่ได้ใช้ค าว่า “การลักลอบเข้าเมือง” หรือ “การหลบหนีเข้าเมืองโดย

               ผิดกฎหมาย” โดยพิจารณาในท านองเดียวกับ “การค้ามนุษย์” ว่าเป็น “ปัญหาความมั่นคงในปัจจุบัน” ที่

               เกิดขึ้นได้จากรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจและการเปิดเสรีในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic
               Community: AEC) ซึ่งเป็นมิติหนึ่งของประชาคมอาเซียนที่น าไปสู่ความเชื่อมโยงในทุกระบบตั้งแต่ ค.ศ. 2015

                       ใน “ร่างยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง” (2561) การลักลอบเข้าเมืองเป็น “ปัญหาเก่า” ที่ต้องการ

               แก้ไขอย่างจริงจังจนหมดไปไม่ให้ส่งผลกระทบต่อประเทศชาติ โดยต้องแก้ไขให้ทันท่วงทีไม่ส่งผลกระทบต่อ
               การบริหารประเทศในช่วง 10 ปี (ค.ศ. 2027–2036) ในขณะเดียวกันมุ่งพัฒนาให้ไทยเป็นที่ชื่นชมและยอมรับ

               โดยประชาคมระหว่างประเทศในการส่งเสริมเสถียรภาพและความมั่นคงในภูมิภาคในช่วง ค.ศ. 2027–2031

               จนถึงขั้นมีส่วนร่วมในการก าหนดทิศทางและส่งเสริมเสถียรภาพในภูมิภาคในช่วง ค.ศ. 2032–2036
                       แม้ทิศทางการจัดการการย้ายถิ่นแบบไม่ปกติควรจะเป็นไปตามยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนากลไกการ

               บริหารจัดการความมั่นคงแบบบูรณาการที่มีความพร้อมทั้งการติดตาม เฝ้าระวัง แจ้งเตือน ป้องกัน และแก้ไข

               อย่างเป็นรูปธรรม ได้ทุกรูปแบบของปัญหาและทุกช่วงเวลาอย่างครบถ้วนสมบูรณ์และมีเอกภาพ แต่ในปัจจุบัน
               การจัดการการย้ายถิ่นแบบไม่ปกติก็ยังไม่มีระบบที่บูรณาการเหมือนอย่างการต่อต้านการค้ามนุษย์ เรื่องนี้ยัง

               เกี่ยวพันกับยุทธศาสตร์ที่ 2 การป้องกันและแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง ในประเด็นการรักษา
               ความมั่นคงและผลประโยชน์ทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทั้งทางบกและทางทะเลที่ต้องพัฒนา





                                                           [93]
   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114