Page 114 - kpiebook62002
P. 114
สภาความมั่นคงแห่งชาติ, สัมภาษณ์, 22 มีนาคม 2562) การย้ายถิ่นแบบไม่ปกติจึงกลายเป็นทั้งปัญหาและ
ความท้าทายส าหรับประเทศไทย มีนายหน้าค้ามนุษย์โยงใยเป็นขบวนการ มีเจ้าหน้าที่รัฐและชาวโรฮิงญาที่ผัน
ตัวเป็นเอเยนต์รวมกันท าความผิดด้วยจุดประสงค์เพื่อเงิน ส่งผลให้ธุรกิจค้าชาวโรฮิงญาเติบโตในไทยอย่าง
รวดเร็ว ในขณะนั้นไทยกลายเป็นแหล่งค้ามนุษย์ผู้ลี้ภัยที่ใหญ่ที่สุดในโลก (เอกชัย จั่นทอง, 2558)
ความซับซ้อนและยุ่งยากของการย้ายถิ่นแบบไม่ปกติ คือ การแยกแยะการย้ายถิ่นแบบไม่ปกติที่
เกิดขึ้นจากการลักลอบขนผู้ย้ายถิ่นออกจากการค้ามนุษย์ แม้ว่าตามคู่มือส าหรับเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงาน
ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์จะเปรียบเทียบความแตกต่างทั้งผลกระทบของความผิด ความยินยอม
ของผู้ย้ายถิ่นหรือการโดนแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ วัตถุประสงค์ ขอบเขตการกระท าผิดเฉพาะระหว่าง
ประเทศหรือภายในประเทศ การติดต่อกับบุคคลที่น าพา อ านาจควบคุม (ดู ตารางที่ 3.1) (ส านักงานเลขาธิการ
สภาผู้แทนราษฎร, ส านักวิชาการ, 2558, น. 5–6) กล่าวคือ การลักลอบขนย้ายคน (smuggling) ต้องพาคน
ข้ามแดน ในขณะที่การค้ามนุษย์ (trafficking) อาจเคลื่อนย้ายคนโดยไม่ต้องข้ามแดน ในกรณีของไทยปัญหา
ทั้งสองเรื่องซ้อนทับกันอยู่ การท างานสืบสวนเหมือนกันและมีองค์ประกอบความผิดเหมือนกันถึงร้อยละ 50
แต่ต้องพิจารณาจากหลักฐานว่าเข้าข่ายการค้ามนุษย์หรือไม่ จึงจะด าเนินการเป็นคดีค้ามนุษย์ได้ (ธรรมศักดิ์
วิชชารยะ, สัมภาษณ์, 22 มีนาคม 2562)
[98]