Page 117 - kpiebook62002
P. 117

ปัญหาส าคัญที่จะเกิดขึ้น คือ การที่ไทยไม่สามารถท าการพิสูจน์สัญชาติผู้ย้ายถิ่นแบบไม่ปกติอย่างชาว

               โรฮิงญา เนื่องจากเมียนมาไม่ยอมรับกลุ่มชาวโรฮิงญาเป็นพลเมืองของประเทศ สถานการณ์นี้ไม่ใช่ข้อบกพร่อง
               ของกระบวนการพิสูจน์สัญชาติ แต่เป็นประเด็นเกี่ยวกับสัญชาติและอัตลักษณ์ที่ซับซ้อนเกี่ยวโยงกับประเทศ

               ต้นทางเสียมากกว่า ความล าบากที่มีมากขึ้นในส่วนของประเทศต้นทาง คือ ผู้ย้ายถิ่นชาวเมียนมาต้องกลับ

               ประเทศบ้านเกิดเพื่อไปรับหนังสือเดินทางชั่วคราวด้วยตนเอง ซึ่งไม่เพียงแต่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง แต่ยังสร้าง
               ปัญหาอื่นให้อีกมาก เห็นจากมีผู้ย้ายถิ่นหลายคนกลัวการถูกข่มเหงจากรัฐบาลเมียนมา (ฮูเกท, 2557, น. 26)

                       การที่ชาวโรฮิงญาไม่มีสถานะความเป็นพลเมืองเมียนมาและรัฐบาลเมียนมาไม่ได้ออกเอกสารทาง

               ราชการที่ส าคัญอื่นใดเพื่อแสดงถึงสถานะความเป็นพลเมืองให้ เช่น สูติบัตร บัตรประจ าตัวประชาชน โดย
               หลักการแล้วรัฐไทย เมียนมา หรือรัฐอื่นๆ ที่มีชาวโรฮิงญาหนีเข้าไปอาศัยไม่ควรปฏิบัติต่อชาวโรฮิงญาในฐานะ

               ผู้เข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย เพราะหากพิจารณาตามอนุสัญญาทั้ง 2 ฉบับ ได้แก่ อนุสัญญาเกี่ยวกับสถานะของ

               บุคคลไร้รัฐ ค.ศ. 1954 และอนุสัญญาว่าด้วยการการลดความไร้รัฐ ค.ศ. 1961 ชาวโรฮิงญาเข้าข่ายสถานะของ
               บุคคลไร้รัฐ (stateless persons) ที่รัฐควรให้ความช่วยเหลือ ทว่ารัฐบาลต่างๆ ไม่สามารถพิจารณาสถานะ

               ดังกล่าวได้ เนื่องจากประเทศไทยและประเทศสมาชิกอาเซียนส่วนใหญ่ รวมทั้งบังกลาเทศและอินเดีย ไม่ได้ลง

               นามเป็นภาคีในอนุสัญญาเหล่านี้ ดังนั้น แม้ในเชิงประจักษ์ชาวโรฮิงญามีสถานะเป็น “บุคคลไร้รัฐ” แต่ในทาง
               นิตินัย ชาวโรฮิงญาไม่มีสถานะเป็น “บุคคลไร้รัฐ” ที่รัฐต่างๆ มีพันธกรณีที่ต้องให้ความช่วยเหลือ




               3.2 กลไกรับมือปัญหาระดับชาติของไทย



                       กลไกรับมือปัญหาการย้ายถิ่นแบบไม่ปกติระดับชาติของไทยพิจารณาได้เป็น 2 ส่วนซึ่งเกี่ยวโยงกัน

               ได้แก่ กลไกเชิงนโยบาย และกลไกเชิงปราบปราม


                       3.2.1  กลไกเชิงนโยบาย


                            กลไกรับมือปัญหาการย้ายถิ่นแบบไม่ปกติของไทยแต่เดิมมีลักษณะที่ตายตัวมองปัญหาโดยยึด

               ความผิดถูกตามกฎหมายเป็นส าคัญอย่างพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 เพราะมองผู้ย้ายถิ่นเหล่านี้

               เป็นเพียงผู้ลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมายที่ต้องจับกุม ปัจจุบันเริ่มเห็นถึงแนวโน้มที่มีกลไกที่ยืดหยุ่นขึ้นอย่าง
               ยุทธศาสตร์แก้ปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองทั้งระบบแต่ยังไม่เพียงพอ เพราะยังคงมีนิยามความหมายและความ

               เข้าใจในการแก้ปัญหาไม่ครอบคลุม การมีกลไกที่ยืดหยุ่นมากขึ้นนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการพิจารณา

               แนวทางให้ความช่วยเหลือผู้ย้ายถิ่น แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องไม่ให้การจัดประเภทมากเกินไปจนเกิดปัญหาการ
               แยกแยะในทางปฏิบัติว่าจะต้องคุมขังหรือส่งกลับโดยเฉพาะเมื่อเผชิญกับผู้ย้ายถิ่นที่มีเหตุต่างกันจ านวนมาก

               (สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี, สัมภาษณ์, 22 มีนาคม 2562)





                                                          [101]
   112   113   114   115   116   117   118   119   120   121   122