Page 92 - b30427_Fulltext
P. 92
กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย: กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย
อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี รวมทั้งอาจมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ฝ่ายหนึ่งได้ถูกล่วงละเมิดต่อสิทธิเสรีภาพ อีกทั้งความพยายามพัฒนากีฬาหรือ
การแข่งขันกีฬาให้มีระเบียบแบบแผน ให้นักกีฬาอยู่ภายใต้การกำกับขององค์กรกำกับ
กีฬาอย่างเป็นระบบหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬาต้องปฏิบัติต่อกันภายใต้
ความสัมพันธ์อย่างมีระเบียบแบบแผน ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้นักกีฬาหรือผู้มีส่วนได้
ส่วนเสียในแวดวงกีฬาต้องทำกิจกรรมของตนเองหรือประกอบอาชีพของตนให้ถูกต้อง
ตามจรรยาบรรณของอาชีพในธุรกิจอุตสาหกรรมกีฬา แล้วการทำกิจกรรมหรือ
ประกอบอาชีพของบุคคลเช่นว่านี้ ล้วนแล้วแต่จะต้องมีเกณฑ์ในการทำกิจกรรมหรือ
ประกอบอาชีพเพื่อสร้างมาตรฐานให้นักกีฬาหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬา
อื่น ๆ มีความเป็นมืออาชีพทางการกีฬา (Sports Professionalism) มากยิ่งขึ้นไปกว่า
70
แต่เดิม เหตุนี้เองในประเทศอังกฤษจึงได้พัฒนาระบบการปกครองกีฬาในแต่ละ
ชนิดกีฬาควบคู่ไปกับการสร้างระบบกำกับธรรมาภิบาลกีฬาในแต่ละชนิดกีฬา เพื่อให้
การปกครองกีฬาและเกณฑ์ธรรมาภิบาลกีฬาในแต่ละชนิดกีฬาเป็นเครื่องมือควบคุมให้
นักกีฬาละเล่นกีฬาหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬาดำเนินกิจกรรมกีฬาอย่างเป็น
มืออาชีพและประกอบอาชีพให้ถูกต้องตามจรรยาบรรณแห่งอาชีพ ในขณะเดียวกัน
องค์กรกำกับกีฬาอาจสร้างกลไกวิธีการกำกับธรรมาภิบาลหรือออกคำสั่งหรือ
กฎระเบียบควบคุมการละเล่นกีฬาหรือการดำเนินกิจกรรมให้ถูกต้องตามจรรยาบรรณ
แห่งความเป็นมืออาชีพทางการกีฬา เช่น การขึ้นทะเบียน การออกใบอนุญาต
การสั่งพักใช้ใบอนุญาต การเพิกถอนใบอนุญาต และการรับรองวิทยฐานะ ซึ่งการ
กำกับธรรมาภิบาลขององค์กรกำกับกีฬามักดำเนินการในรูปคณะกรรมการ (Board of
71
Control) ที่มีอำนาจตามกฎระเบียบจัดตั้งองค์กรกำกับกีฬา แต่ทว่าหากองค์กรกำกับ
กีฬาออกคำสั่งหรือกฎระเบียบไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยกฎระเบียบหรือคำสั่ง
มีลักษณะที่เป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมหรือมีลักษณะที่เป็นการกระทบต่อ
สิทธิเสรีภาพของนักกีฬาหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ เช่นว่านี้นักกีฬาหรือผู้มีส่วนได้
ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องย่อม เกิดข้อพิพาทระหว่างองค์กรกำกับกีฬากับนักกีฬาหรือ
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ เมื่อเกิดข้อพิพาทหรือคดีทางการกีฬา (sports law cases)
70 Wray Vamplew, “Playing with the rules: Influences on the development of
regulation in sport,” International Journal of the History of Sport 24, no.7 (2007): 843-871.
71 Richard Tacon, “Sport policy and the structure of sport in the UK,” In Managing
Sport Business: An Introduction, ed. 2nd (London: Routledge & CRC Press, 2018): 58-77.
1
สถาบันพระปกเกล้า