Page 95 - b30427_Fulltext
P. 95

กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:                                                         กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
                             ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย                            ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย


           สงวนรักษาชีวิต ร่างกาย อนามัย หรือทรัพย์สินของผู้เข้ามาเกี่ยวข้องกับการแข่งขันกีฬา

                     ตัวอย่างเช่น คดี Eastham v. Newcastle United [1964] Ch. 413

           ข้อเท็จจริงมีอยู่ว่าสมาคมกีฬาฟุตบอลอังกฤษ (Football Association หรือ FA)
           ได้กำหนดกฎระเบียบให้นักกีฬาฟุตบอลอาชีพที่ประสงค์จะเล่นกีฬาฟุตบอลให้กับ
           สโมสรกีฬาฟุตบอลอาชีพใด ต้องขึ้นทะเบียน (register) เป็นนักกีฬาฟุตบอลอาชีพ

           ภายใต้สังกัดสโมสรกีฬาฟุตบอลต้นสังกัด โดยนักกีฬาฟุตบอลที่ได้ขึ้นทะเบียนกับ
           สโมสรกีฬาฟุตบอลต้นสังกัดแล้ว ก็สามารถเล่นกีฬาฟุตบอลให้เฉพาะสโมสรกีฬา
           ฟุตบอลต้นสังกัดในฤดูกาลที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น หากนักกีฬาฟุตบอลประสงค์ที่จะ

           โอนย้ายตนเอง (transfer) ไปสังกัดสโมสรกีฬาฟุตบอลอาชีพใหม่แล้ว จะต้องได้รับ
           ความยินยอมจากสโมสรกีฬาฟุตบอลต้นสังกัดเดิม หากปราศจากความยินยอมจาก
           สโมสรกีฬาฟุตบอลต้นสังกัดเดิมแล้ว นักกีฬาฟุตบอลอาชีพดังกล่าวยังคงต้องติด

           สัญญาจ้างอยู่กับสโมสรกีฬาฟุตบอลต้นสังกัดเดิม (retained) โดยสโมสรกีฬาฟุตบอล
           ต้นสังกัดเดิมมีสิทธิที่จะเลือกพิจารณาไม่ต่อสัญญาจ้างให้ (re-signed) กับนักกีฬา
           ฟุตบอลอาชีพ หากสโมสรกีฬาฟุตบอลต้นสังกัดเดิมไม่พิจารณาต่อสัญญาจ้างให้

           ก็จะไม่สามารถลงเล่นกีฬาฟุตบอลได้ในฤดูกาลถัดไปจนกว่าจะได้รับการต่อสัญญาจ้าง
           (re-signed) จากต้นสังกัดเดิมอีกครั้งหนึ่ง นั้นหมายความว่าหากสโมสรกีฬาฟุตบอล
           ต้นสังกัดเดิมไม่ยอมต่อสัญญาจ้างให้กับนักกีฬาฟุตบอลอาชีพ นักกีฬาฟุตบอลอาชีพ

           ก็จะไม่มีโอกาสได้รับค่าจ้าง (wages) และไม่มีโอกาสโอนย้ายไปเล่นให้กับสโมสรกีฬา
           ฟุตบอลอาชีพอื่นได้ ในเวลาต่อมาศาลยุติธรรมอังกฤษได้วินิจฉัยเอาไว้ว่ากฎระเบียบ
           ของสมาคมกีฬาฟุตบอลอังกฤษเป็นกฎระเบียบเช่นว่านี้ถือเป็นข้อจำกัดทางการค้าที่ไม่

           เป็นธรรม (unfair restraint of trade) และข้อจำกัดทางการค้าที่ไม่สมเหตุสมผล
           (unreasonable restraint of trade) ทำให้สโมสรกีฬาฟุตบอลต้นสังกัดผู้ซึ่งมีอำนาจ
           ต่อรองทางเศรษฐกิจเหนือกว่าถือโอกาสเอาเปรียบนักกีฬาฟุตบอลที่อยู่ในสังกัดของตนเอง

           คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งมีอำนาจต่อรองทางเศรษฐกิจด้อยกว่าอย่างมาก ซึ่งกฎระเบียบ
           ที่ออกโดยสมาคมกีฬาฟุตบอลอังกฤษและบังคับใช้กับการแข่งขันกีฬาฟุตบอลอาชีพ
           ที่อยู่ภายใต้กำกับของสมาคมกีฬาฟุตบอลอังกฤษเช่นว่านี้ย่อมทำให้เกิดความไม่เป็นธรรม
           ในการจ้างงานนักกีฬาฟุตบอลอาชีพ เหตุนี้เอง ศาลยุติธรรมอังกฤษจึงพิจารณา

           ว่ากฎระเบียบที่นำไปสู่การสร้างข้อตกลงทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมและสั่งให้ข้อตกลง
           ที่ไม่เป็นธรรมนั้นมีผลใช้บังคับเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณี ทั้งนี้ก็เพื่อปกป้อง

           สิทธิของนักกีฬาฟุตบอลอาชีพในการมองหาการจ้างงาน (player’s right to seek



                                          สถาบันพระปกเกล้า
   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100