Page 97 - b30427_Fulltext
P. 97
กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย: กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย
อีกประการหนึ่งศาลยุติธรรมอังกฤษยังได้เคยวินิจฉัยตีความและพิจารณาพิพากษา
ให้ผู้กระทำผิดได้รับโทษตามกฎหมายลายลักษณ์อักษร โดยเฉพาะกฎหมายอาญาทาง
กีฬา (Criminal Sports Law) เช่น กฎหมาย Sporting Events (Control of Alcohol
etc.) Act 1985 กฎหมาย Football Spectators Act 1989 และกฎหมาย Football
(Offences) Act 1991 ที่บัญญัติว่า การกระทำใดที่ถือว่าเป็นความผิดเอาไว้เป็น
ลายลักษณ์อักษร พร้อมกำหนดบทลงโทษทางอาญาสำหรับผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับ
กีฬา (criminal sanctions in sport) เอาไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น ปรับ กักขัง
และจำคุก เป็นต้น
3.1.2 การจำแนกกฎหมายกีฬาอังกฤษ
เมื่อพิจารณาตามเนื้อความและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ หน่วยงานของรัฐ
และเอกชน ก็จะพบได้ว่ากฎหมายกีฬาอังกฤษสามารถจำแนกได้เป็น 3 ประเภท
ด้วยกัน ได้แก่
3.1.2.1 กฎหมายเอกชนทางกีฬา
กฎหมายเอกชนทางกีฬา (Sport Private Law) ได้แก่
กฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแต่ละชนิดกีฬาหรือ
ในธุรกิจอุตสาหกรรมกีฬาที่เป็นเอกชนกับเอกชนด้วยกัน โดยความสัมพันธ์ระหว่าง
เอกชนกับเอกชนดังกล่าวตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเท่าเทียมกันเพราะเป็นเรื่องของ
กฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนต่อเอกชนด้วยกันในฐานะเท่าเทียมกัน
3.1.2.2 กฎหมายมหาชนทางกีฬา
กฎหมายมหาชนทางกีฬา (Sport Public Law) ได้แก่
กฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬาที่ฝ่ายหนึ่ง
เป็นรัฐ หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีอำนาจเหนือกว่าอีกฝ่ายหนึ่งที่เป็น
เอกชน โดยรัฐ หน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐย่อมมีเอกสิทธิ์ตามกฎหมาย
มหาชนที่จะดำเนินการหรือทำกิจกรรมเพื่อประโยชน์สาธารณะทางการกีฬา พร้อมกับ
มีเอกสิทธิ์อยู่เหนือบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลตามกฎหมายเอกชนที่จะบังคับให้บุคคล
ธรรมดาหรือนิติบุคคลตามกฎหมายเอกชนปฏิบัติตามคำสั่งของตนได้เอง เช่น การที่
เจ้าหน้าที่ของรัฐใช้อำนาจตามกฎหมาย Football Spectators Act 1989 ออกคำสั่ง
สถาบันพระปกเกล้า