Page 96 - b30427_Fulltext
P. 96

กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:    กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
 ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย     ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย


           employment) ในตลาดแรงงานภาคอุตสาหกรรมกีฬาฟุตบอลอาชีพ     73

                 จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่าศาลอังกฤษได้วินิจฉัยในประเด็นที่ว่าข้อจำกัด

           ทางการค้าดังกล่าวเป็นธรรมต่อนักกีฬาอาชีพหรือไม่ ข้อตกลงดังกล่าวเหมาะสมต่อ
           นักกีฬาอาชีพเพียงใด โดยศาลได้ทำการวินิจฉัยในเรื่องของข้อตกลงหรือข้อจำกัด
           ในสัญญาอันเนื่องมาจากการปฏิบัติตามกฎระเบียบขององค์กรกำกับกีฬา (สมาคม

           กีฬาฟุตบอลอังกฤษ) อันเป็นการกระทบสิทธิเสรีภาพของนักกีฬาอาชีพ ในทางตรงกัน
           ข้ามศาลยุติธรรมอังกฤษจะใช้อำนาจทบทวนความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งหรือ
           กฎที่ออกโดยองค์กรกำกับกีฬาได้หรือไม่นั้น ก็ต่อเมื่อคำสั่งหรือกฎดังกล่าวต้องเป็น

           คำสั่งหรือกฎที่ออกโดยองค์กรกำกับกีฬาอันเป็นหน่วยงานรัฐ (public body)
           ที่มีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชน (public legal personality) เท่านั้น
           และมีกฎหมายมหาชนให้อำนาจ (statutory powers) ในการออกคำสั่งหรือกฎมาเพื่อ

           ควบคุมกำกับนักกีฬาหรือองค์กรกำกับกีฬาลำดับชั้นต่ำกว่า แต่ถ้าองค์กรกำกับกีฬา
           อันเป็นหน่วยงานเอกชน (private body) ที่มีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายเอกชน
           (private legal personality) ศาลยุติธรรมอังกฤษไม่อาจก้าวล่วงไปพิจารณาทบทวน

           คำสั่งหรือกฎที่ออกไปโดยเห็นว่าคำสั่งหรือกฎนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่สามารถ
           พิจารณาได้ว่าการกระทำขององค์กรกำกับกีฬาเป็นการกระทำที่เกินไปกว่าขอบอำนาจ
           หน้าที่หรือขอบวัตถุประสงค์ของกฎหมายมหาชนที่ให้อำนาจองค์กรกำกับกีฬาดังกล่าว

           หรือไม่ (ultra vires) ตัวอย่างเช่นคดี R v Football Association Ltd ex parte
           Football League [1993] และคดี R. v. Disciplinary Committee of the Jockey
           Club ex p. the Aga Khan [1993] 1 WLR 909 ที่ศาลยุติธรรมอังกฤษวินิจฉัยไปใน

           แนวทางเดียวกันว่าคณะกรรมการวินัยของชมรมขี่ม้าอังกฤษและสมาคมกีฬาฟุตบอล
           อังกฤษถือเป็นองค์กรกำกับกีฬาอันเป็นหน่วยงานเอกชน ที่มีสภาพเป็นนิติบุคคลตาม
           กฎหมายเอกชน ศาลยุติธรรมอังกฤษไม่อาจก้าวล่วงไปพิจารณาทบทวนคำสั่งหรือกฎ

           ที่ออกไป โดยเห็นว่าคำสั่งหรือกฎนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะการออกคำสั่งหรือ
           กฎของนิติบุคคลตามกฎหมายเอกชนดังกล่าวไม่ได้มีกฎหมายให้อำนาจในการออกคำสั่ง
                                  74
           หรือกฎดังกล่าวแต่อย่างใด  เป็นต้น

                 73  J Paul McCutcheon, “Negative enforcement of employment contracts in the sports
           industries,” Legal Studies 17, no.1 (1997): 65-100.
                 74  Sarah Elison and Matthew Lohn., “Whose Rules are we playing by?,”
           The Entertainment and Sports Law Journal 3, no.2 (2005): 5.



                                          สถาบันพระปกเกล้า
   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101