Page 91 - b30427_Fulltext
P. 91

กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:                                                         กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
                             ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย                            ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย


           มากกว่าการพิจารณาคดีของศาลยุติธรรมอังกฤษ เช่น คดี Jane Couch
           ที่คณะกรรมการควบคุมกีฬามวยบริติช (British Boxing Board of Control หรือ

           BBBC) ในฐานะฝ่ายปกครองและใช้อำนาจปกครองเคยออกคำสั่งไม่อนุญาตให้
           Jane Couch นักมวยอาชีพหญิงชาวอังกฤษ (ที่ประสบความสำเร็จจากการชกมวย
           สากลอาชีพในสหรัฐอเมริกา) ในฐานะผู้ยื่นคำขออนุญาตชกมวยในประเทศอังกฤษ

           ให้สามารถทำการชกมวยภายในประเทศอังกฤษได้ พร้อมปฏิเสธไม่ออกใบอนุญาต
           ชกมวย (boxing licence) ให้กับ Jane Couch ซึ่งคดีนี้ได้รับการกีดกันหรือเลือก
           ปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมเพียงเพราะ Jane Couch เป็นนักมวยอาชีพเพศหญิง (sex

           discrimination) จากคณะกรรมการควบคุมกีฬามวยบริติชหรือ BBBC เหตุนี้เองต่อมา
           คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทได้เพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการควบคุมกีฬา
           มวยบริติชหรือ BBBC เพราะการออกคำสั่งทางปกครองเป็นการใช้อำนาจโดยมี

                                                                         69
           ลักษณะเป็นกีดกันหรือการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมต่อนักกีฬาเพศหญิง
                 จะทำการศึกษาระบบกฎหมายของประเทศอังกฤษที่ส่งอิทธิพลต่อพัฒนาการ
           ของกฎหมายกีฬาอังกฤษ การจำแนกกฎหมายกีฬาอังกฤษ การระงับข้อพิพาททาง

           กีฬาในวงการกีฬาอังกฤษ คดีทางการกีฬาของอังกฤษที่น่าสนใจ และการส่งเสริม
           การกีฬากับกฎหมายอังกฤษ


                 3.1.1 ระบบกฎหมายของประเทศอังกฤษที่ส่งอิทธิพลต่อพัฒนาการของกฎหมายกีฬา
           อังกฤษ

                     ช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 มาจนถึงปัจจุบันนี้ มีการพัฒนากีฬาให้กลาย

           มาเป็นอุตสาหกรรม (Sports Industrialisation) มากยิ่งขึ้น นั้นหมายความว่าผู้มี
           ส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงธุรกิจอุตสาหกรรมกีฬาได้มีความพยายามลงทุนเพื่อดำเนิน
           กิจกรรมกีฬาหรือการแข่งขันกีฬาและนำแรงงานในตลาดอุตสาหกรรมกีฬามาช่วย

           ขับเคลื่อนธุรกิจอุตสาหกรรมกีฬาเพื่อสร้างกำไรและผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
           การดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรมกีฬาย่อมอาจสร้างข้อขัดแย้งหรือข้อพิพาทระหว่าง
           ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงธุรกิจอุตสาหกรรมกีฬา ซึ่งภายใต้ความข้อขัดแย้งหรือ

           กรณีพิพาทอาจมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายแก่ชีวิต แก่ร่างกาย



                 69  Supreme Court of the United Kingdom, “Sport & the Law,” 2012, Accessed March
           7, 2021, https://www.supremecourt.uk/docs/sport-and-the-law.pdf.



                                               0
                                          สถาบันพระปกเกล้า
   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96