Page 87 - b30427_Fulltext
P. 87

กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:                                                         กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
                             ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย                            ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย


           ในขณะเดียวกันองค์กรกำกับกีฬาในประเทศอังกฤษได้ยอมรับนับถือคำพิพากษาของ
           ศาลยุติธรรมอังกฤษและได้ยอมรับเป็นบรรทัดฐานเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของ

           นักกีฬาหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬา ดังเคยปรากฏไว้ในคดีสำคัญที่
           ศาลยุติธรรมอังกฤษได้วินิจฉัยวางหลักเกณฑ์รับรองสิทธิและคุ้มครองเสรีภาพของ
           นักกีฬา เช่น คดี Eastham v Newcastle United Football Club Ltd [1964] Ch

           413 เป็นต้น

                 อีกประการหนึ่งกฎหมายคอมมอนลอว์ยังได้พัฒนาหลักเกณฑ์ทางกฎหมาย
           เอกชนมากำหนดความสัมพันธ์ระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬาในฐานะที่เป็น

           เอกชนกับเอกชนด้วยกัน ในฐานะที่เป็นเอกชนกับเอกชนที่เท่าเทียมกัน โดยเฉพาะ
           อย่างยิ่งหลักกฎหมายละเมิดอังกฤษที่วางหลักความรับผิดเพื่อละเมิดในทางแพ่งอันถูก
           วิวัฒนาการและกำหนดขึ้นมาสำหรับคุ้มครองสิทธิระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวง

           กีฬาในฐานะที่เป็นเอกชนกับเอกชนด้วยกัน หากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬา
           อันเป็นเอกชนรายหนึ่งไปกระทำต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬาอันเป็นเอกชน
           อีกรายหนึ่ง จนส่งผลให้เอกชนอีกรายหนึ่งนี้ได้รับความเสียหายในทางหนึ่งทางใดนั้น

           ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬาที่ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นย่อมต้องรับผิดในทางแพ่ง
           เช่น คดี Watson v British Boxing Board of Control [2001] [2000] EWCA Civ
           2116, [2001] QB 1134, [2001] PIQR 16 เป็นต้น


                 นอกจากนี้รัฐสภาอังกฤษได้ตรากฎหมายลายลักษณ์อักษร (Statutory Law)
           อันเป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่รวมเอากฎเกณฑ์ที่กำหนดความประพฤติของผู้มี
           ส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬา (แวดวงกีฬาทั่วไปหรือแวดวงแต่ละชนิดกีฬา) ซึ่งผู้มี

           ส่วนได้ส่วนเสียจะต้องปฏิบัติตาม เพราะหากไม่ปฏิบัติตามแล้วก็จะได้รับโทษที่เป็น
           สภาพบังคับโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นตำรวจทางปกครองหรือตำรวจ
           ทางยุติธรรมจะบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งมีกระบวนการบังคับให้เป็นไปตามกฎหมาย

           ลายลักษณ์อักษรดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการทางอาญาหรือกระบวนการทาง
           ปกครอง กฎหมายลายลักษณ์อักษรเช่นว่านี้อาจประกอบด้วย ฝ่ายปกครองจะออก
           กฎหมายลำดับรอง (Statutory Instruments หรือ SI) ได้ภายใต้อำนาจของกฎหมาย

           ลายลักษณ์อักษรแม่บทเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายลายลักษณ์อักษรแม่บท
           นั้น ๆ ตัวอย่างกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่มีผลบังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน เช่น กฎหมาย
           Sporting Events (Control of Alcohol etc.) Act 1985 กฎหมาย Football

           Spectators Act 1989 และกฎหมาย Football (Offences) Act 1991 เป็นต้น


                                          สถาบันพระปกเกล้า
   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92