Page 93 - b30427_Fulltext
P. 93
กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย: กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย
เกิดขึ้นในประเทศอังกฤษ ระบบกฎหมายจารีตประเพณี หรือระบบกฎหมายคอมมอนลอว์
(Common Law System) ของประเทศอังกฤษจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในการสร้าง
72
แนวคำพิพากษาของศาลยุติธรรมที่ศาลยุติธรรมในคดีก่อน ๆ ได้เคยพิพากษา
วางแนวทางเอาไว้ (Judge made law) คดีที่ศาลยุติธรรมได้เคยตัดสินไปแล้วก็ย่อม
กลายมาเป็นบรรทัดฐานที่ยอมรับนับถือกันทั่วไปและศาลยุติธรรมที่ตัดสินในคดีต่อ ๆ
มาจะต้องดำเนินรอยตามคำพิพากษาศาลยุติธรรมในคดีก่อน ๆ ที่ได้เคยวินิจฉัยเอาไว้
เป็นบรรทัดฐานหรือเป็นแบบอย่าง (Precedent) นั้นหมายความว่าศาลยุติธรรม
อังกฤษเองต้องพิจารณาพิพากษาคดีให้สอดคล้องและเป็นไปในแนวทางเดียวกันกับ
คำพิพากษาเดิมที่ข้อเท็จจริงเกิดขึ้นในกรณีเดียวกันและต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกับ
คำพิพากษาของศาลสูง (ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีในชั้นที่สูงกว่า เช่น
ชั้นอุทธรณ์หรือชั้นฎีกา) ในประเทศอังกฤษเคยมีคดีสำคัญ ๆ ทางการกีฬาที่เคยเกิด
ขึ้นในเขตอำนาจศาลยุติธรรมอังกฤษที่ใช้กฎหมายคอมมอนลอว์ (common law
jurisdictions of England)
คำพิพากษาของศาลยุติธรรมอังกฤษส่วนใหญ่ มักเป็นคดีที่ว่าด้วยการ
ละเมิดสิทธิเสรีภาพที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อตัวนักกีฬาอาชีพ โดยทั่วไปกฎหมาย
อังกฤษเปิดโอกาสให้นักกีฬาอาชีพและสโมสรกีฬาต้นสังกัดสามารถทำสัญญาหรือข้อ
ตกลงกันได้ตามหลักเสรีภาพในการทำสัญญา (freedom of contract) โดยไม่ว่าจะ
เป็นฝ่ายนักกีฬาอาชีพหรือฝ่ายสโมสรกีฬาต้นสังกัด ต่างฝ่ายต่างก็พยายามเจรจา
ตกลงให้ตนได้ประโยชน์จากข้อสัญญาดังกล่าว ตราบเท่าที่ข้อสัญญาดังกล่าวไม่ละเมิด
ต่อกฎหมายและไม่ขัดแย้งกับกฎระเบียบขององค์กรกำกับกีฬาที่กำหนดขึ้นมาเพื่อให้
ทั้งนักกีฬาอาชีพกับสโมสรกีฬาต้องปฏิบัติตาม หากแต่สัญญาหรือข้อตกลงบางอย่าง
อาจไปกระทบต่อสิทธิเสรีภาพอย่างหนึ่งอย่างใดของตัวนักกีฬาอาชีพ จนทำให้นักกีฬา
อาชีพต้องตกเป็นฝ่ายที่ต้องเสียเปรียบหรือถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพอย่างไม่เป็นธรรม
เหตุนี้เองข้อตกลง ความตกลง และความยินยอมรวมทั้งประกาศ และคำแจ้งความ
เพื่อยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของสโมสรกีฬาต้นสังกัดอาจเป็นข้อตกลงจำกัดสิทธิ
หรือเสรีภาพในการประกอบอาชีพของนักกีฬาอาชีพ ซึ่งข้อตกลงที่ทำให้นักกีฬาอาชีพ
ตกเป็นผู้ถูกจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพและต้องรับภาระมากกว่าที่จะพึงคาดหมายได้ตามปกติ
72 Matthew J. Mitten and Hayden Opie, ““Sports Law”: Implications for the
development of international, comparative, and national law and global dispute resolution,”
Tulane Law Review 85, no.2 (2010): 269-322.
2
สถาบันพระปกเกล้า