Page 72 - b30427_Fulltext
P. 72

กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:    กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
 ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย     ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย


           องค์กรกำกับกีฬาก็ต้องยอมตนผูกพันให้ถูกควบคุมกำกับโดยองค์กรกำกับกีฬา
           (Membership Contract) ในแต่ละองค์กรกำกับกีฬาอาจมีการจัดทำธรรมนูญสูงสุด

           ของกีฬาตามแต่ละชนิดกีฬา (Constitutional Framework) อันเป็นกฎระเบียบแม่บท
           ของกฎระเบียบทั้งหลายในองค์กรกำกับกีฬาลำดับสูงสุดในชนิดกีฬานั้น ๆ และองค์กร
           กำกับกีฬาลำดับรองอื่น ๆ ก็ต้องยอมตนปฏิบัติตามกฎระเบียบในทำนองนี้

           กฎระเบียบขององค์กรกำกับกีฬาลำดับรองอื่น ๆ จะขัดแย้งกับเนื้อความตาม
           กฎระเบียบแม่บทสูงสุดไม่ได้ กฎระเบียบที่ออกโดยองค์กรกำกับกีฬาลำดับรองอื่น ๆ
           ต้องสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกันธรรมนูญสูงสุดของกีฬาตามแต่ละชนิดกีฬา

           นั้น ๆ

                 หากกฎระเบียบขององค์กรกำกับกีฬาใดขัดหรือแย้งต่อกฎหมายของรัฐ
           โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎระเบียบที่ขัดต่อกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของ

           ประชาชน เช่นว่านี้รัฐ (รัฐบาลของแต่ละประเทศ) อาจใช้อำนาจแทรกแซงทางอ้อม
           (Indirect Government Intervention) โดยการออกนโยบายกีฬา (Sports Policy)
           มากำกับและกำหนดแนวการปฏิบัติขององค์กรกำกับกีฬาหรืองดการสนับสนุนทาง

           การเงิน (Funding Support) แก่องค์กรกำกับกีฬาที่ออกกฎระเบียบอันฝ่าฝืนต่อ
           หลักการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของนักกีฬาสากล อีกทั้งหน่วยงานของรัฐกำกับด้านกีฬา
           อาจใช้อำนาจแทรกแซงโดยตรง (Direct Government Intervention) ด้วยการออก

           กฎหมายลำดับรองสำหรับควบคุมการออกกฎระเบียบขององค์กรกำกับกีฬาหรือ
           กำหนดความประพฤติของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬา เพื่อให้องค์กรกำกับกีฬา
           ต้องออกกฎระเบียบให้สอดคล้องกับหลักการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของนักกีฬาสากล

           หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬาต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการคุ้มครองสิทธิ
           เสรีภาพนักกีฬาสากล หากฝ่าฝืนองค์กรกำกับกีฬาหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวง
                                         56
           กีฬาอาจได้รับผลร้ายหรือถูกลงโทษ

                 อย่างไรก็ตาม รัฐพึงต้องเคารพต่อความเป็นอิสระขององค์กรกำกับกีฬา
           (Principles on the Independence of the SGBs)  ซึ่งหลักการนี้ส่งผลต่อการสร้าง
                                                        57

                 56  Richard Pomfret and John K. Wilson, “The Peculiar Economics of Government Policy
           towards Sport,” Agenda: A Journal of Policy Analysis and Reform 18, no.1 (2011): 85-98.
                 57  Ravi Mehta, “The future of sports governance: Will sport sustain its traditional
           model of autonomy?,” sportslawbulletin (2017), Accessed March 7, 2021, https://www.
           sportslawbulletin.org/future-sports-governance-will-sport-sustain-its-traditional-model-autonomy/

                                                1
                                          สถาบันพระปกเกล้า
   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77