Page 67 - b30427_Fulltext
P. 67

กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:                                                         กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
                             ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย                            ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย


           คณะกรรมการที่มีอำนาจหน้าที่ตามระเบียบข้อบังคับว่าด้วยการวางกฎระเบียบของ
           องค์กรกำกับกีฬา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือกำกับธรรมาภิบาลกีฬาและควบคุมมาตรฐาน

           การแข่งขันกีฬา ทั้งนี้กฎระเบียบที่ออกโดยองค์กรกำกับกีฬากีต้องมีผลบังคับใช้
           เป็นการทั่วไปและไม่เอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มอิทธิพลใดในธุรกิจอุตสาหกรรมกีฬาหรือ
           กลุ่มผลประโยชน์ใดในวงการกีฬาเป็นพิเศษ และ


                 (ข) องค์กรกำกับกีฬามีหน้าที่ออกคำสั่งลงโทษ (Sanctioning Function)
           โดยคณะกรรมการหรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจขององค์กรกำกับกีฬา
           มีอำนาจออกคำสั่งลงโทษทางวินัยที่จะส่งผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิเสรีภาพหรือ

           หน้าที่ของนักกีฬา สโมสรกีฬาหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬา ไม่ว่าจะมี
           ผลกระทบชั่วคราวหรือผลกระทบอันเป็นการถาวร การใช้อำนาจออกคำสั่งลงโทษของ
           องค์กรกำกับกีฬามักอยู่ในรูปแบบของการใช้อำนาจขององค์กรกำกับกีฬาแต่ฝ่ายเดียว

           อันอาจก่อให้เกิดผลร้ายในทางหนึ่งทางใดต่อผู้รับคำสั่งลงโทษ ซึ่งกฎระเบียบของ
           องค์กรกำกับกีฬาอาจระบุกำหนดลักษณะของการกระทำหรือไม่กระทำอย่างใดถือว่า
           เป็นความผิดที่จะต้องได้รับโทษเอาไว้ และกำหนดบทลงโทษสำหรับนักกีฬา

           สโมสรกีฬาหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬาที่กระทำการหรือไม่กระทำการ
           อย่างหนึ่งอย่างใดอันถือเป็นการฝ่าฝืนกฎระเบียบขององค์กรกำกับกีฬา

                 อย่างไรก็ตามการที่องค์กรกำกับกีฬาจะสร้างกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติตนของ

           นักกีฬาหรือมาตรฐานการจัดการแข่งขันกีฬาให้บรรลุวัตถุประสงค์ในด้านธรรมาภิบาล
           กีฬานั้น องค์กรกำกับกีฬาย่อมต้องอาศัยกฎระเบียบมาเป็นเครื่องมือสำหรับช่วย
           ปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการกำกับธรรมาภิบาลกีฬาว่าด้วยมาตรฐาน

           จริยธรรมนักกีฬาหรือมาตรฐานการละเล่นและจัดการแข่งขันกีฬา โดยผู้มีส่วนได้
           ส่วนเสียในแวดวงกีฬาจะเข้ามาผูกพันหรือยอมตนปฏิบัติตามกฎระเบียบหรือไม่นั้น
           ต้องพิจารณาถึงสถานภาพทางกฎหมายของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียดังกล่าวว่ามีความเป็น

           สมาชิก (Membership)  ขององค์กรกำกับกีฬาหรือไม่ หากเป็นสมาชิกแล้วย่อมต้อง
                                52
           ผูกพันหรือต้องทำตามกฎระเบียบขององค์กรกำกับกีฬาที่ตนเองเป็นสมาชิกหรือ
           มีสมาชิกภาพอยู่ด้วย





                 52  Eddie TC. Lam “The Roles of Governance in Sport Organizations,” Journal of
           Power, Politics & Governance 2, no.2 (2014): 19-31.



                                          สถาบันพระปกเกล้า
   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72