Page 63 - b30427_Fulltext
P. 63

กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:                                                         กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
                             ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย                            ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย


                 สำหรับหลักการอันเป็นลักษณะพื้นฐานที่มีร่วมกันในสังคมกีฬาของนักกีฬาและ
           ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬา ที่ได้ถูกนำมาอ้างอิงและพัฒนาให้เป็นหลักพื้นฐาน

           แนวคิดทางกีฬาหรือหลักการที่ยอมรับนับถือกับในแวดวงกีฬา ซึ่งกฎหมายกีฬาก็มี
           วัตถุประสงค์เพื่อให้มีการแข่งขันที่เป็นธรรมหรือ “Fair Play”  ในทำนองเดียวกัน
                                                                  47
           กฎหมายกีฬาถือเสมือนเป็นกรอบมาตรฐานอาชีพนักกีฬาและจรรยาบรรณของ

           ผู้เป็นนักกีฬา กฎหมายกีฬาอาจประกอบด้วยเนื้อหาที่รวบรวมเกณฑ์มาตรฐาน
           ความประพฤติของนักกีฬาหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับนักกีฬาจะต้อง
           ประพฤติปฏิบัติ เป็นแนวทางให้นักกีฬา และผู้ที่อยู่ในแวดวงกีฬาต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง

           เพื่อผดุงเกียรติศักดิ์แห่งความเป็นนักกีฬา ในขณะเดียวกันนักกีฬาหรือผู้มีส่วนได้
           ส่วนเสียในแวดวงกีฬาที่กระทำผิดต่อจรรยาบรรณของผู้เป็นนักกีฬานักกีฬา ก็จะต้อง
           ได้รับโทษหรือเผชิญผลร้ายอย่างหนึ่งอย่างใด


                 หลักการแข่งขันที่เป็นธรรมหรือ “Fair Play”  ได้แก่ หลักการพื้นฐานอันเป็น
                                                       48
           ที่ยอมรับนับถือของนักกีฬาหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในวงการกีฬา การละเล่นกีฬาหรือ
           การแข่งขันกีฬาถูกใช้เป็นเครื่องมือในการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกบุคคลหรือ

           เชื่อมความสามัคคีระหว่างกลุ่มบุคคล โดยมีกฎกติกาของการแข่งขันกีฬา (Rules of
           Competition) เป็นกรอบมาตรฐานของการละเล่นและการแข่งขันกีฬา ซึ่งหลักการแข่งขัน
           ที่เป็นธรรมหรือ “Fair Play” เป็นหลักที่สนับสนุนให้เกิดความเป็นธรรมในการแข่งขัน

           กีฬา ภายใต้การกำหนดกฎกติกาของการแข่งขันกีฬาเอาไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
           ชัดเจนและมีเนื้อหาของกฎกติกาในลักษณะที่เด็ดขาด หลักการแข่งขันที่เป็นธรรมหรือ
           “Fair Play” มุ่งควบคุมให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรมเพื่อให้ความคุ้มครองแก่ผู้เข้าร่วม

           การแข่งขันกีฬาทุกคนทุกฝ่ายอย่างเท่าเทียมและไม่ให้ผู้เข้าร่วมแข่งขันกีฬาคนหนึ่ง
           คนใดฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดได้เปรียบหรือเสียเปรียบยิ่งหย่อนไปกว่ากัน หลักการแข่งขัน
           ที่เป็นธรรมหรือ “Fair Play” เป็นหลักที่ทำให้นักกีฬาหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวง

           กีฬาอยู่ร่วมกันของผู้คนในสังคมกีฬาอย่างสันติสุข ในทำนองเดียวกันการละเล่นกีฬา



                 47  Ales Sekot, “Fair Play in the Perspective of Contemporary Sport,” Sport Science
           review 20, no.5-6 (2011): 175 – 189, Accessed March 7, 2021,  http://archive.sciendo.com/
           SSR/ssr.2011.xx.issue-5-6/v10237-011-0071-2/v10237-011-0071-2.pdf.
                 48  Klaus Vieweg, “Lex Sportiva and The Fairness Principle,” International Sports Law
           Review Pandektis 10, no.3-4 (2014), Accessed March 7, 2021, http://www.irut.de/Forschung/
           Veroeffentlichungen/Aufsaetze_KV/Lex%20Sportiva%20and%20the%20Fairness%20Principle.pdf


                                               2
                                          สถาบันพระปกเกล้า
   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68