Page 64 - b30427_Fulltext
P. 64

กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:    กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
 ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย     ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย


           หรือการแข่งขันกีฬาโดยเคารพต่อกฎกติกาของการแข่งขันกีฬาและปฏิบัติตาม
           กฎหมายบ้านเมือง (กฎหมายกีฬา) ล้วนแล้วแต่เป็นส่วนสำคัญทำให้เกมกีฬาดำเนิน

           ต่อไปได้อย่างราบรื่นและปกติสุข การคำนึงถึงกฎกติกาของการแข่งขันกีฬาและปฏิบัติ
           ตามกฎหมายบ้านเมือง รวมทั้งการรู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัยย่อมเป็นคุณธรรมของการละเล่น
           กีฬาหรือการแข่งขันที่เป็นธรรมอย่างหนึ่งที่ถูกเรียกว่าความมีน้ำใจนักกีฬา

           (Sportsmanship) นักกีฬาสมัครเล่นและนักกีฬาอาชีพพึงต้องระลึกเสมอและ
           ทำความเข้าใจว่าการละเล่นกีฬาหรือการแข่งขันกีฬาต้องเป็นไปด้วยความเคารพต่อ
           ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามและความซื่อสัตย์ต่อคู่แข่งขัน ไม่กระทำการฝ่าฝืนกฎกติกา

           การแข่งขันกีฬาและไม่กระทำการอันละเมิดต่อกฎหมายบ้านเมือง (กฎหมายกีฬา)
           ที่กำหนดลักษณะของการกระทำหรือไม่กระทำอย่างใดเกี่ยวข้องกับกิจกรรมกีฬาหรือ
           การแข่งขันกีฬาที่กฎหมายบ้านเมืองถือว่าเป็นความผิด และได้กำหนดบทลงโทษ

           สำหรับผู้กระทำการอันละเมิดกฎหมายบ้านเมือง (กฎหมายกีฬา) เอาไว้

                 หลักการแข่งขันที่เป็นธรรมหรือ “Fair Play” ถือเป็นหัวใจสำคัญของกีฬาและ
           การกีฬา หลักการนี้ได้ถูกนำมาผนวกหรือนำมาแฝงไว้กับมาตรฐานสากลในเรื่องกีฬา

           และการแข่งขันกีฬา ทำนองเดียวกันหลักการนี้ได้ถูกรณรงค์และสร้างความตระหนักให้
           กลายมาเป็นจุดร่วมหลักอันก่อให้เกิดธรรมาภิบาลในวงการกีฬา สะท้อนได้จากการที่
           นโยบายสาธารณะด้านกีฬาและกฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย

           ได้พยายามนำเอาหลักเกณฑ์ มาตรการและกลไกสำคัญหลายประการ มากำหนด
           เอาไว้เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อรับรองหรือคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของนักกีฬา ทั้งสิทธิ
           ในเนื้อตัวร่างกาย ทรัพย์สิน หรือเสรีภาพอื่น ๆ ในฐานะที่เป็นนักกีฬา ในทำนองเดียวกัน

           หลักดังกล่าวก็ถูกองค์กรกำกับกีฬาใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนให้เกิด
           การจัดการแข่งขันกีฬาที่เป็นธรรมและใช้เป็นเครื่องมือกำกับธรรมาภิบาลการปกครอง
           ควบคุมการแข่งขันกีฬาให้ได้มาตรฐานสากล ความพยายามในการรับรองหลักการแข่งขัน

           ที่เป็นธรรมหรือ “Fair Play” มีอยู่เรื่อยมาควบคู่กับสังคมกีฬา เนื่องจากผู้กำหนด
           นโยบายกีฬา (Sports Policy Makers) และผู้จัดทำกฎหมาย (Lawmakers)
           มักหยิบยกหลักการดังกล่าวมาเป็นปรัชญาของกติกาและจรรยาบรรณในการอยู่ร่วมกัน
           ในสังคมกีฬา ที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬาย่อมต้องรู้จักรักษาจิตวิญญาณของ

           นักกีฬา (Spirit of Sportsmanship) ไปพร้อมกับตระหนักว่านักกีฬาและผู้เกี่ยวข้อง
           อื่น ๆ ต้องละเล่นกีฬาหรือจัดการแข่งขันกีฬาอันคำนึงถึงเกมการแข่งขันที่เป็นธรรมกับ

           ทุกฝ่าย โดยปราศจากกฎกติกาในเชิงกีดกันหรือเลือกปฏิบัติต่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด



                                          สถาบันพระปกเกล้า
   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69