Page 65 - b30427_Fulltext
P. 65

กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:                                                         กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
                             ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย                            ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย


           ในขณะเดียวกันผู้จัดทำกฎหมายไม่ว่าจะเป็นฝ่ายนิติบัญญัติก็ดีหรือฝ่ายบริหารกิจการ
           กีฬาก็ตามก็มักจะนำเอาหยิบยกเอาหลักการแข่งขันที่เป็นธรรมหรือ “Fair Play”

           มาเป็นเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของกฎหมายกีฬาที่มีหน้าที่กำกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
                                              49
           ในแวดวงกีฬาหรือควบคุมการแข่งขันกีฬา  โดยการเข้าไปควบคุมตรวจสอบการแข่งขัน
           กีฬาให้ได้มาตรฐานและกำกับดูแลนักกีฬาหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬารายอื่น ๆ

           ให้ร่วมในการกีฬาด้วยน้ำใจนักกีฬา ไม่กระทำการอันล่วงละเมิดต่อสิทธิเสรีภาพต่อ
           นักกีฬารายอื่นหรือกระทำการอันแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมายต่อ
           ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬารายอื่น ๆ เพื่อให้นักกีฬาและผู้เกี่ยวข้องอื่น ๆ ได้รับ

           ความเป็นธรรมและถูกปฏิบัติอย่างเป็นธรรมในการดำเนินกิจกรรมกีฬาและเข้าร่วม
           การแข่งขันกีฬา

                 กล่าวโดยสรุปกฎหมายกีฬามีที่มาจากการนำเอากฎหมายที่มีผลบังคับใช้อยู่

           ในขณะนั้นมาใช้กำหนดความประพฤติและระงับข้อพิพาทระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
           ในแวดวงกีฬาและการบัญญัติกฎหมายขึ้นมาใหม่มาใช้ควบคุมความประพฤติและระงับ
           ข้อพิพาทระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬา ซึ่งกฎหมายกีฬาอาจมีสภาพบังคับ

           ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬาต้องปฏิบัติตาม หากไม่ปฏิบัติตามก็อาจได้รับ
           ผลร้ายหรือถูกลงโทษอย่างหนึ่งอย่างใด โดยกฎหมายกีฬาอาจเป็นการนำเอากฎหมาย
           ทั่วไปอันมีเนื้อความในลักษณะเกี่ยวข้องกับกีฬาหรือการกีฬาหรือมีเนื้อความที่อาจถูก

           หยิบยกขึ้นมาเพื่อปรับใช้กับข้อพิพาททางการกีฬา อาทิ กฎหมายมหาชน กฎหมาย
           เอกชน และกฎหมายระหว่างประเทศ ในทำนองเดียวกันนักกฎหมายกีฬาได้พยายาม
           ศึกษากฎหมายทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับการกีฬาหรือกฎหมายที่บัญญัติขึ้นมาเพื่อกำกับ

           ธรรมาภิบาลกีฬาโดยเฉพาะ ผ่านการรวบรวมกฎหมายเกี่ยวกับที่เกี่ยวข้องกับกีฬาและ
           การกีฬาเอาไว้เป็นเรื่องเดียวกัน พร้อมกับทำการศึกษากฎหมายดังกล่าวอย่างเป็น
           ระบบกับจำแนกหัวข้อศึกษาอย่างเป็นหมวดหมู่ แล้วระหว่างหัวข้อศึกษาในแต่ละ

           หมวดหมู่ก็อาจมีเนื้อหาหรือบริบทที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน เหตุนี้เองกฎหมายกีฬาจึงมี
           ลักษณะเป็นสาขาวิชาเฉพาะในนิติศาสตร์ (Specialised Law Subjects) และมีขอบเขต
           ของการศึกษาเฉพาะในนิติศาสตร์ (Specialised Law Areas) จนมหาวิทยาลัยในบาง
           ประเทศได้พัฒนาหลักสูตรปริญญาโททางกฎหมายกีฬาและหลักสูตรปริญญาเอกทาง


                 49  David Bayard, “After Further Review: How the N.C.A.A.’s Division IShould
           Implement Name, Image, and Likeness Rights to Save Themselves and Best Preserve the
           Integrity of College Athletics,” Southern University Law Review, Forthcoming, 2020.



                                          สถาบันพระปกเกล้า
   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70