Page 62 - b30427_Fulltext
P. 62

กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:    กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
 ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย     ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย


           บัญญัติขึ้นมา พร้อมกับตกลงกันว่าหากเอกชนฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดฝ่าฝืนข้อตกลงร่วมกัน
           ที่จะยินยอมพร้อมใจปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ทางการค้า ก็ย่อมอาจได้รับผลร้ายหรือ

           ถูกลงโทษ อย่างไรก็ดีกฎหมายของพ่อค้าวาณิชย์หรือ “Lex Mercatoria” หากระเบียบ
           ข้อบังคับ ประเพณีและวิธีปฏิบัติในแวดวงธุรกิจอุตสาหกรรมกีฬาที่ได้รับการยอมรับกัน
           อย่างสากลและถูกนำมาใช้วางกฎเกณฑ์อย่างแพร่หลายเพื่อกำหนดความสัมพันธ์

           ระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬาแล้ว รัฐหรือหน่วยงานของรัฐอาจยอมรับ
           นับถือกฎหมายของพ่อค้าวาณิชย์หรือ “Lex Mercatoria” แล้วนำเอากฎหมายของ
           พ่อค้าวาณิชย์ไปบัญญัติเอาไว้เป็นกฎหมายกีฬาลายลักษณ์อักษร เพื่อปรับปรุง

           เปลี่ยนแปลงกฎหมายกีฬาให้ทันสมัยและสอดคล้องกับการทำธุรกิจอุตสาหกรรมกีฬา
           ในยุคปัจจุบัน

                 อนึ่ง กฎหมายกีฬาเป็นเครื่องมือกำหนดพฤติกรรมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

           ในแวดวงกีฬา ผู้ที่เข้ามาเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสังคมกีฬาหรือธุรกิจอุตสาหกรรมกีฬา
           ต้องเข้ามาเกี่ยวข้องตั้งแต่เข้าสู่วงการกีฬาไปจนออกไปจากวงการกีฬา กฎหมายกีฬา
           เกิดขึ้นมาจากพื้นฐานแนวคิดทางกีฬาหรือหลักการที่ยอมรับนับถือกันในแวดวงกีฬา

           ซึ่งพื้นฐานแนวคิดหรือหลักการเช่นว่านี้ได้ถูกนำมาบรรจุในเครื่องมือกำหนดพฤติกรรม
           ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬา แม้ว่าบริบทของสังคมกีฬาอาจเปลี่ยนแปลงไป
           ตามวิวัฒนาการของสังคมหรือแปรผันไปตามกาลเวลา แต่พื้นฐานแนวคิดทางกีฬาหรือ

           หลักการที่ยอมรับนับถือในแวดวงกีฬากลับยังคงถูกยึดถือและปฏิบัติตามอยู่จวบจน
           ปัจจุบัน นักกฎหมายมักเห็นว่ากฎหมายกีฬามีรากเหง้าของวิวัฒนาการอยู่เสมอ
           ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬาและ

           ปัญหาทางกฎหมายที่เกิดขึ้นเกี่ยวเนื่องกับการแข่งขันกีฬาและการดำเนินธุรกิจ
           อุตสาหกรรมกีฬา นอกจากนักกฎหมายบางส่วนยังให้ความเห็นว่ากฎหมายกีฬาเป็น
           กฎหมายที่พึ่งจะเกิดขึ้นไม่นานมานี้ อีกทั้งกฎหมายกีฬาต้องอาศัยการใช้ความรู้จาก

           องค์ความรู้หลากหลายสาขาวิชานิติศาสตร์ เช่น กฎหมายแรงงาน กฎหมายอาญาและ
           กฎหมายละเมิดฯลฯ ทำนองเดียวกันกฎหมายกีฬาต้องอาศัยพื้นฐานความรู้จาก
           หลากหลายสหศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับกีฬา เช่น วิทยาศาสตร์การกีฬา การจัดการกีฬา
           และพลศึกษาฯลฯ มาผสมผสานใช้ในการสังเคราะห์ขึ้นเป็นองค์ความรู้สาขาวิชา

           กฎหมายกีฬาขึ้นมาใหม่และความรู้ใหม่เช่นว่านี้อาจแฝงเอาไว้ด้วยปรัชญาของกฎหมาย
           กีฬาในฐานะที่เป็นสาขากฎหมายใหม่ด้วย





                                                1
                                          สถาบันพระปกเกล้า
   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67