Page 58 - b30427_Fulltext
P. 58
กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย: กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย
ในบทที่ 2 จะทำการศึกษาหลักพื้นฐานกฎหมายกีฬา (Basic Principle of
Sports Law) การจัดองค์กรกำกับกีฬา (Organisation of Sports Governing
Bodies) ธรรมาภิบาลกีฬา (Sports Governance) และการระงับข้อพิพาททางการกีฬา
(Dispute Resolution within Sports) โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
2.1 หลักพื้นฐานกฎหมายกีฬา
กฎหมายกีฬาเป็นกฎระเบียบที่รัฐได้ตราขึ้นหรือองค์กรกำกับกีฬาได้บัญญัติขึ้น
หรือเกิดขึ้นมาจากจารีตประเพณีที่ผู้คนในแวดวงกีฬายอมรับนับถือและยินยอมปฏิบัติตาม
เสมือนระเบียบแบบแผนในแนวทางเดียวกันมาโดยตลอด อันมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้
ในการบริหารระบบการแข่งขันกีฬา เพื่อใช้ในการปกครองแต่ละชนิดกีฬา เพื่อใช้บังคับ
ความประพฤติของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬาให้ปฏิบัติตาม หรือเพื่อกำหนด
กฎระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬา ผู้มีส่วนได้
ส่วนเสียในแวดวงกีฬากับองค์กรกีฬาหรือระหว่างองค์กรกีฬาด้วยกัน (ระหว่าง
หน่วยงานของรัฐกำกับด้านกีฬาหน่วยงานของรัฐกำกับด้านกีฬาด้วยกัน ระหว่าง
องค์กรกำกับกีฬากับองค์กรกำกับกีฬาด้วยกัน หรือระหว่างหน่วยงานของรัฐกำกับด้าน
กีฬากับองค์กรกำกับกีฬา)
ในการศึกษาวิชากฎหมายกีฬาจำต้องศึกษาปรัชญาพื้นฐานของกฎหมายกีฬา
จากอาศัยการสังเกตข้อแตกต่างระหว่างบ่อเกิดและที่มาแห่งกฎระเบียบอันเป็น
กฎหมายกีฬาและกฎระเบียบที่มีลักษณะใกล้เคียงอย่างยิ่งกับกฎหมายกีฬา
ซึ่งกฎระเบียบอันเป็นกฎหมายกีฬาและกฎระเบียบที่มีลักษณะใกล้เคียงอย่างยิ่งกับ
กฎหมายกีฬาย่อมมีนิติปรัชญาอันเป็นความมุ่งหมายหรืออุดมคติของกฎระเบียบ
แตกต่างกันออกไป การรับรู้ถึงความแตกต่างเช่นว่านี้ย่อมทำให้ผู้ศึกษาวิชากฎหมาย
กีฬาเข้าใจหลักเกณฑ์อันเป็นแก่นแท้ของกฎหมายกีฬา
กฎหมายกีฬาหรือที่เรียกในภาษาละตินว่า “Lex Sportiva” ได้แก่ กฎหมาย
ที่ใช้ในการควบคุมกีฬาและการกีฬา (Law Regulating Sport) กฎหมายดังกล่าว
ถือเป็นมาตรฐานสากลทางการกีฬา เป็นเครื่องมือช่วยบังคับหรือกำหนด
ความประพฤติของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬา กฎหมายเช่นว่านี้อาจมาจาก
สาขากฎหมายต่าง ๆ (Areas of Law) อันมีเนื้อหาเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับกีฬาหรือ
สถาบันพระปกเกล้า