Page 54 - b30427_Fulltext
P. 54

กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:    กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
 ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย     ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย


           ที่มาของการจัดตั้งหรือบัญญัติกฎระเบียบซึ่งกำหนดความประพฤติของผู้คนในแวดวง
           กีฬาหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในสังคมกีฬา ถ้าฝ่าฝืนกฎระเบียบจะได้รับผลร้ายหรือ

           ถูกลงโทษอย่างหนึ่งอย่างใด ซึ่งกฎระเบียบที่องค์กรกีฬาของรัฐได้ตราขึ้นไว้ก็ดีหรือ
           ที่องค์กรกำกับกีฬาตามแต่ละชนิดกีฬาได้บัญญัติเอาไว้ก็ตาม ย่อมเป็นข้อบังคับกำหนด
           ความประพฤติของผู้คนในแวดวงกีฬาหรือผู้คนในสังคมกีฬา เหล่านี้ล้วนแล้วแต่

                                                37
           เป็นบริบทของกฎหมายกีฬา (Sports Law)
                 กฎหมายกีฬาที่องค์กรกีฬาไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของรัฐกำกับด้านกีฬา (Sports
           Government Agency) หรือองค์กรกำกับกีฬา (Sports Governing Bodies หรือ

                 38
           SGBs)  อาจใช้อำนาจในฐานะฝ่ายปกครองหรืออาจใช้อำนาจในฐานะกำกับปกครอง
           กีฬาตามแต่ละชนิดกีฬาหรือกำกับการแข่งขันกีฬาในระบบต่าง ๆ ออกกฎระเบียบ
           กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬาด้วยกันกับรัฐหรือ

           ความสัมพันธ์ระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬาด้วยกันเอง ความสัมพันธ์เช่นว่านี้
           ต้องมีแบบแผนเพื่อกำกับความประพฤติของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬาหรือ
           กำหนดความสัมพันธ์ในสิทธิและหน้าที่ของผู้คนในสังคมกีฬาหรือสิทธิหน้าที่ระหว่าง

           ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬากับหน่วยงานของรัฐกำกับด้านกีฬาหรือองค์กรกำกับ
           กีฬา โดยมีกระบวนการบังคับอย่างมีระเบียบแบบแผน โดยกฎระเบียบเช่นว่านี้ต้องมี
           สาระสำคัญ 5 ประการ ดังนี้ (ก) กฎหมายกีฬาเป็นกฎหมายที่วางโครงสร้างของ

           หน่วยงานของรัฐกำกับด้านกีฬาหรือองค์กรกำกับกีฬา (ข) กฎหมายกีฬาเป็นกฎหมาย
           กำหนดนิติสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานของรัฐกำกับด้านกีฬาหรือองค์กรกำกับกีฬากับ
           ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬา (หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามแต่ละชนิดกีฬา)

           (ค) กฎหมายกีฬาเป็นกฎหมายที่มุ่งควบคุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬาให้ปฏิบัติ
           ตามมาตรฐานและจริยธรรมทางกีฬา (ตามแต่ละชนิดกีฬา) และให้ปฏิบัติโดยชอบ
           ด้วยกฎหมาย โดยหน่วยงานของรัฐกำกับด้านกีฬาหรือองค์กรกำกับกีฬาต้องสร้าง

           การควบคุมและกระบวนการควบคุมผ่านการใช้อำนาจเหนือ (ง) กฎหมายกีฬา
           อาจกำหนดความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬาในฐานะ
           ที่เป็นเอกชนกับเอกชนด้วยกัน หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬากับองค์กรกำกับ


                 37  Antoine Duval, “Lex Sportiva: A Playground for Transnational Law,” European Law
           Journal 19 no.6 (2013): 822–842.
                 38  Ben Cisneros, “Challenging the call: Should sports governing bodies be subject to
           judicial review?,” The International Sports Law Journal 20, no.2 (2020): 18-35.



                                          สถาบันพระปกเกล้า
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59