Page 52 - b30427_Fulltext
P. 52

กีฬา (Sports) เป็นการกระทำการละเล่นหรือดำเนินกิจกรรมละเล่นใด ๆ
           อย่างมีแบบแผน โดยมีวัตถุประสงค์ของการกระทำหรือการดำเนินกิจกรรมที่แตกต่าง

           กันออกไป ไม่ว่าจะเป็นวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเพลิดเพลินให้กับหมู่คณะ
           วัตถุประสงค์เพื่อการแข่งขันประลองชิงชัยชนะกันเพื่อรางวัล หรือวัตถุประสงค์เพื่อ
           เสริมสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกายและจิตใจ ซึ่งการละเล่นกีฬาต้องอยู่ภายใต้

                                                                                   33
           ระเบียบและกติกา (Rules and Regulations) ที่แน่นอนตามแต่ละชนิดกีฬา
           ครั้นต่อมากีฬาได้กลายมาเป็นกิจกรรมการละเล่นที่มีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลากหลาย
                                              34
           (Sports Stakeholders) เข้ามาเกี่ยวข้อง  แล้วผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเหล่านี้ได้ลงทุนหรือ
           ใช้แรงงานเพื่อสร้างความสำเร็จให้กับการแข่งขันกีฬา เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ทางกีฬา
           มาวางจำหน่ายให้ได้มาซึ่งกำไรหรือเพื่อการให้บริการอย่างหนึ่งอย่างใดให้ได้มาซึ่ง
           ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ กระบวนการเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจของวงการกีฬา
           จากการละเล่นกีฬาแบบดั้งเดิมที่ไม่ได้มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์จากการแข่งขันเพื่อ

           ผลประโยชน์ทางธุรกิจ ให้กลายมาเป็นเศรษฐกิจแบบอุตสาหกรรมที่ขึ้นกับการจัดให้มี
           สาธารณูปโภคด้านกีฬา การจัดรูปแบบระบบการแข่งขัน การพัฒนาศักยภาพของ

           นักกีฬาอาชีพ การสร้างระบบการศึกษาเชิงบ่มเพาะนักกีฬาสมัครเล่นให้กลายเป็น


                 33  Ken Foster, “Lex Sportiva and Lex Ludica: the Court of Arbitration for Sport’s
           Jurisprudence,” Entertainment and Sports Law Journal 3, no.1 (2005): 1-15.
                 34  Lesley Ferkins and David Shilbury, “The Stakeholder Dilemma in Sport Governance:
           Toward the Notion of “Stakeowner”,” Journal of Sport Management 29, no.1 (2015): 93-108.


                                                1
                                          สถาบันพระปกเกล้า
   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57