Page 56 - b30427_Fulltext
P. 56

กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:    กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
 ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย     ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย


                                                                      41
           ต้องดำเนินการตามหลักธรรมาภิบาลกีฬา (Sports Governance)  ผ่านการสร้าง
           วิธีการหรือแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดในการใช้อำนาจบริหารหรือกำกับกีฬา (หรือแต่ละชนิด

           กีฬา) โดยเคารพต่อสิทธิเสรีภาพ ความเป็นประชาธิปไตย ความโปร่งใสและความมี
           ประสิทธิภาพ การดำเนินการกำกับธรรมาภิบาลกีฬาเช่นว่านี้ต้องอยู่ภายใต้การจัด
           ระเบียบโครงสร้างความสัมพันธ์ในการใช้อำนาจระหว่างองค์กรกำกับกีฬาที่มีอำนาจ

           สูงสุดและองค์กรกำกับกีฬาที่มีอำนาจรองลดหลั่นลงมา

                 จากที่กล่าวมาในข้างต้นการกีฬากับกฎหมายจึงเป็นเรื่องที่มีความเกี่ยวข้อง
           สัมพันธ์กันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะเมื่อกีฬาได้กลายมาเป็นการดำเนินกิจกรรมการ

           กีฬาที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสิทธิเสรีภาพของมนุษย์และกีฬาได้กลายมาเป็นการ
           ดำเนินกิจกรรมธุรกิจกีฬาที่มีความเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจใน
           อุตสาหกรรมกีฬา เริ่มตั้งแต่การจัดการแข่งขันหรือการเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาในระบบ

           ต่าง ๆ ไปจนถึงการผลิตสินค้าและบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการแข่งขันหรือการเข้าร่วม
           การแข่งขันกีฬาให้ตอบสนองต่อตลาดกีฬา (Sports Market) ที่ประกอบด้วยลูกค้า
           หรือผู้บริโภคในตลาดกีฬาเป็นจำนวนมาก กฎหมายกีฬาจึงประกอบด้วยกฎหมายของ

           ที่เกี่ยวข้องกับกีฬา ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายเอกชนในกรณีที่เป็นกิจกรรมทาง
           อุตสาหกรรมและธุรกิจในวงการกีฬา กำหนดความผูกพันตามข้อสัญญาหรือข้อตกลง
           กันเอาไว้ เป็นต้นว่าข้อตกลงการโอนย้ายนักกีฬาอาชีพ (Professional Player Transfer

                                                                                   42
           Agreement) และสัญญาจ้างนักกีฬาอาชีพ (Professional Player Contracts)
           กฎหมายมหาชนในกรณีที่เป็นกิจกรรมความสัมพันธ์ในเชิงอำนาจของสถาบันทางการ
           ด้านกีฬาที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐหรือองค์กรกีฬาทั้งที่เป็นหน่วยงานของรัฐ

           ด้านกีฬาหรือองค์กรกำกับกีฬา (ตามแต่ละชนิดกีฬา) หรือกำหนดความสัมพันธ์
           ระหว่างองค์กรกีฬากับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬา (รวมทั้งประชาชนทั่วไป)
           ในฐานะที่องค์กรกีฬาเป็นฝ่ายปกครอง (หรือใช้อำนาจในฐานะฝ่ายปกครอง) ที่มี

           อำนาจเหนือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬา (รวมทั้งประชาชนทั่วไป) และกฎหมาย


                  41  Geoff Walters, Linda Trenberth, and Richard Tacon, Good Governance in Sport:
           A Survey of UK National Governing Bodies of Sport, (London: Birkbeck Sport Business
           Centre, 2010)
                 42  Simon Gardiner, and Roger Welch, “Player trades, free agents and transfer policies
           in professional sport,” In Michael Barry, James Skinner, and Terry Engelberg, eds., Research
           Handbook of Employment Relations in Sport (UK: Edward Elgar Publishing, 2016): 333-354.



                                          สถาบันพระปกเกล้า
   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61