Page 53 - b30427_Fulltext
P. 53
กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย: กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย
นักกีฬาอาชีพ และการผลิตสินค้ากีฬาให้ได้มาตรฐานสำหรับวางจำหน่ายในท้องตลาด
กระบวนการเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจเช่นว่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยสำคัญทำให้
กีฬากลายเป็นอุตสาหกรรม (Industrialisation of Sports) อย่างหนึ่ง 35
อุตสาหกรรมกีฬา (Sports Industry) จึงเป็นกิจกรรมที่ใช้ทุนและแรงงาน
เพื่อการเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาหรือจัดให้มีการแข่งขันกีฬา รวมไปถึงการผลิตสินค้า
และบริการอื่น ๆ อันเนื่องมาจากการเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาหรือการจัดให้มีการแข่งขัน
กีฬา ซึ่งมักเป็นการประกอบธุรกิจกีฬา (Sports Business) ขนาดใหญ่ที่ต้องใช้
แรงงานและเงินทุนมาก ในขณะเดียวกันอุตสาหกรรมเช่นว่านี้ต้องมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
เข้ามาเกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เข้ามาเกี่ยวข้องเหล่านี้มีบทบาท
และหน้าที่ทำให้เศรษฐกิจอุตสาหกรรมกีฬาขับเคลื่อนต่อไปได้ เช่น เจ้าของสโมสรกีฬา
(Owners) นักกีฬา (Players) ผู้ฝึกสอนกีฬา (Coaches) ตัวแทนกีฬา (Agents)
กรรมการกีฬา (Referees) และเจ้าหน้าที่การแข่งขัน (Match Officials) เป็นต้น
เมื่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เข้ามาเกี่ยวข้องเหล่านี้เข้ามาปฏิสัมพันธ์หรือมี
ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันภายใต้สังคมกีฬาแล้ว ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในสังคมกีฬาอาจมี
การแสดงพฤติกรรมหรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดในลักษณะไม่ลงรอยกัน ต่างฝ่าย
ต่างมีความต้องการที่แตกต่างกันออกไปหรือเกิดสภาพการณ์ในสังคมกีฬาที่ไม่อาจหา
ข้อยุติที่สอดคล้องเป็นไปในแนวทางเดียวกันได้ ในทำนองเดียวกันผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
เหล่านี้ก็อาจแสดงความประพฤติขัดกับหลักการที่ยอมรับนับถือกันอยู่ทั่วไปของผู้คน
ในแวดวงกีฬาหรือแสดงความประพฤติแย้งกับทางปฏิบัติหน้าที่ประพฤติสืบทอดต่อกันมา
ในสังคมกีฬา ดังนี้จึงจำเป็นที่จะต้องมีการกำหนดกฎระเบียบที่องค์กรกีฬา (Sports
Organisation) ได้กำหนดขึ้นหรือที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ
ในแวดวงกีฬา เพื่อใช้ในการกำกับการแข่งขันกีฬาให้ดำเนินไปเป็นระเบียบเรียบร้อย
หรือเพื่อใช้ในการปกครองกีฬาตามแต่ละชนิดกีฬา ใช้บังคับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
36
ในการแข่งขันกีฬาหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแต่ละชนิดกีฬาให้ปฏิบัติตาม รวมทั้งอาจ
กำหนดแบบแผนความสัมพันธ์ระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในสังคมกีฬาด้วยกันหรือ
ระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในสังคมกีฬากับองค์กรกีฬา ความจำเป็นต่าง ๆ เหล่านี้เป็น
35 Miloš Galantic, “Sports Law: Some Introductory Considerations,” Annals of
Applied Sport Science 4, no.3 (2016): 51-59.
36 Ken Foster, “Global Sports Law Revisited,” Entertainment and Sports Law Journal
17, no.4 (2019): 1-4.
2
สถาบันพระปกเกล้า