Page 55 - b30427_Fulltext
P. 55

กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:                                                         กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
                             ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย                            ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย


           กีฬาในฐานะที่องค์กรกำกับกีฬาดำเนินการอย่างเอกชน แล้วการกำหนดความสัมพันธ์
           เช่นว่านี้ผูกพันกันด้วยข้อสัญญาหรือข้อตกลงว่าจะปฏิบัติระเบียบข้อบังคับขององค์กร

           กำกับกีฬา หากไม่ปฏิบัติตามก็จะได้รับโทษอย่างหนึ่งอย่างใด และ (จ) กฎหมายกีฬา
           อาจมุ่งรับรองคุ้มครองสิทธิเสรีภาพสิทธิและอาจกำหนดหน้าที่แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
           ในแวดวงกีฬาที่จะต้องปฏิบัติการตามที่กฎหมายรับรองและคุ้มครองให้ รวมถึงมีหน้าที่

           ที่จะไม่กระทำการหรือไม่ใช้อำนาจในทางที่มิชอบอันไปกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของผู้มี
           ส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬาคนอื่น ๆ

                 กฎหมายกีฬาย่อมเป็นเกณฑ์มาตรฐานสำหรับรับรองกันทั่วไปกันในแวดวงกีฬา

           (Sports Standard) ซึ่งอาจมีกระบวนการในการกำหนดและใช้กฎระเบียบในรูปแบบ
           ต่าง ๆ เพื่อการควบคุมพฤติกรรมของผู้อยู่ในแวดวงกีฬา (หรือตามแต่ละชนิดกีฬา)
           อย่างมีระเบียบแบบแผนเพื่อประโยชน์และสร้างความร่วมมือของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

           ในตลาดกีฬา (Sports Market)  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิด
                                        39
           ประโยชน์สาธารณะด้านกีฬาต่อส่วนร่วม ไปพร้อมกับรับรองคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของ
           นักกีฬาหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ ในตลาดกีฬา ภายใต้กฎระเบียบมาตรฐานหรือ

           หลักเกณฑ์ด้านจริยธรรมเกี่ยวกับการประกอบอาชีพนักกีฬาหรือการดำเนินกิจกรรม
           อย่างหนึ่งอย่างใดในตลาดกีฬา

                 อนึ่ง องค์กรกีฬาไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของรัฐกำกับด้านกีฬาหรือองค์กรกำกับ

           กีฬา (ตามแต่ละชนิดกีฬา) ย่อมมีภารกิจหลักในการบริหารกิจการกีฬาอย่างเป็น
           ระบบหรือควบคุมกำกับพฤติกรรมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬา ซึ่งเป็น
           แนวทางสำคัญในการจัดระเบียบสังคมกีฬาและตลาดกีฬา องค์กรกีฬาเช่นว่านี้

           ย่อมต้องสร้างวิธีดำเนินการที่ดีในการจัดองค์กรของตนใช้อำนาจของฝ่ายกำกับกีฬา
           ออก กฎ คำสั่ง หรือกระทำการทางกายภาพ ภายใต้การใช้อำนาจอย่างโปร่งใสและ
           สามารถตรวจสอบได้ (ภายใต้กระบวนการตรวจสอบ) เพื่อมุ่งประโยชน์ต่อ

           การปกครองกีฬาทั่วไปหรือการกำกับกีฬาในแต่ละชนิดกีฬา และยังมุ่งให้เกิดความ
           เสมอภาคและเป็นธรรมต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬา  เหตุนี้แล้วองค์กรกีฬาจึง
                                                              40



                 39  Richard Parrish, Sports law and policy in the European Union, Manchester:
           Manchester University Press, 2003.
                 40  Michael J. Beloff, et al, Sports Law, 2 ed, (Oxford: Hart Publishing, 2012).
                                                 nd




                                          สถาบันพระปกเกล้า
   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60