Page 57 - b30427_Fulltext
P. 57

กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:                                                         กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
                             ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย                            ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย


           ระหว่างประเทศในกรณีที่เป็นกิจกรรมที่ข้อกำหนดด้านกีฬาระหว่างประเทศ
           (International Sports Frameworks) ไม่ว่าจะเป็นอนุสัญญา (Conventions) ความตกลง

           (Agreements) และสนธิสัญญา (Treaties) อันมีเนื่องรับรองหรือคุ้มครองสิทธิ
           เสรีภาพของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬาระหว่างประเทศที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
           ดังกล่าวอยู่ภายใต้กรอบความสัมพันธ์กันระหว่างองค์กรกำกับกีฬาระหว่างประเทศและ

           องค์กรกำกับกีฬาภายในประเทศภายใต้ลำดับชั้นความสัมพันธ์ในเชิงอำนาจที่ลดหลั่น
           กันไปและกรอบความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกำกับกีฬาระหว่างประเทศกับผู้มีส่วนได้
           ส่วนเสียในแวดวงกีฬา  ภายใต้ความสัมพันธ์เช่นว่านี้อาจมีสนธิสัญญาหรือข้อตกลง
                               43
           บางอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรร่วมกันในด้านเศรษฐกิจ สังคมและบูรณาภาพการกีฬา
           องค์กรกำกับกีฬาระหว่างประเทศอาจอยู่ภายใต้รูปแบบที่แตกต่างกันออกไป เช่น
           สหพันธ์กีฬาระหว่างประเทศ (International Sports Federations หรือ IFs)สหพันธ์

           ฟุตบอลระหว่างประเทศ (Fédération Internationale de Football Association หรือ
           FIFA) คณะกรรมการโอลิมปิกสากล (International Olympic Committee หรือ
           IOC) คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ (National Olympic Committee หรือ NOC)

           คณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก (Organising Committee for the
           Olympic Games หรือ OCOG) และองค์กรต่อต้านการใช้สารต้องห้ามโลก (World
           Anti-Doping Agency หรือ WADA) เป็นต้น


                 การบัญญัติกฎหมายขึ้นมาเพื่อสร้างมาตรฐานด้านกีฬาและกำกับธรรมาภิบาล
           กีฬา เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดประโยชน์สาธารณะด้านกีฬาและปกป้องคุ้มครองสิทธิ
           เสรีภาพของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬา เชื่อกันว่าหากมีกฎระเบียบทางการกีฬา

           ที่กำหนดมาตรฐานที่ใช้เป็นแนวทางพื้นฐานในการสร้างธรรมาภิบาลในสังคมกีฬาแล้ว
           ความมั่นคงแข็งแกร่งด้านเศรษฐกิจ สังคมและบูรณาภาพกีฬาก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้น
           ขจัดการใช้กีฬามาแอบอ้างหรือนำมาเป็นเครื่องมือในการแสวงหาประโยชน์ที่มิชอบจาก

           เพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ในขณะเดียวกันกฎระเบียบก็ส่งผลให้กิจการกีฬาและธุรกิจ
           อุตสาหกรรมกีฬามีแนวโน้มที่จะดำเนินไปในทิศทางเดียวกันที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของ
           หลักธรรมาภิบาลกีฬา






                 43  Antoine Duval, “Lex Sportiva: A Playground for Transnational Law,” European Law
           Journal 19, no.6 (2013): 822–842.



                                          สถาบันพระปกเกล้า
   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62