Page 47 - b30427_Fulltext
P. 47
กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย: กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย
2.2 ผลการประเมินในแต่ละมิติ ผู้รับผิดชอบการประเมินควรนำ
เกณฑ์การประเมินไปใช้ในการประเมินเป็นระยะ ซึ่งจะเป็นการติดตามตรวจสอบ
ผลการดำเนินงานในแต่ละมิติ และเพื่อการปรับปรุงแก้ไขในระหว่างดำเนินการได้ทัน
เวลา และในการประเมินควรมีคณะกรรมการประเมินที่มาจากหลายฝ่ายทั้งบุคคล
ภายในและบุคคลภายนอกที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนากีฬาสู่ความเป็นเลิศให้กว้างขึ้น
ทั้งนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลที่หลากหลายและเป็นประโยชน์อย่างแท้จริง
2.3 ผลการประเมินในแต่ละมิติทั้งระดับแผนงาน และระดับโครงการ
แสดงให้เห็นถึงการดำเนินงานในแต่ละมิติที่ยังขาดความครอบคลุมครบถ้วน ดังนั้น
ในการจัดทำยุทธศาสตร์ของสถาบันการพลศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนอกจาก
จะคำนึงถึงขั้นตอนในการจัดทำแล้ว ควรนำผลการวิจัยมาประยุกต์ใช้ประกอบการ
จัดทำ เพื่อให้ได้แผนยุทธศาสตร์ที่มีความสอดคล้องและเหมาะสมกับบริบทของสถาบัน
ยิ่งขึ้น
3. ข้อเสนอแนะการจัดทำยุทธศาสตร์
3.1 สถาบันการพลศึกษาควรดำเนินการจัดทำยุทธศาสตร์ให้ครบ
5 ขั้นตอน คือ
1) การเตรียมการจัดทำยุทธศาสตร์ เป็นขั้นตอนการเตรียมการ
การวางแผนยุทธศาสตร์ ซึ่งควรมีการจัดตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ และ
มีการรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สภาพปัญหา ความต้องการจำเป็น พันธกิจ
บทบาทหน้าที่ นโยบาย ข้อมูลสารสนเทศ หรือแผนยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ศักยภาพขององค์กร 2) การระบุสิ่งที่มุ่งหวังขององค์กร
ประกอบด้วย การกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายขององค์กร 3) การวิเคราะห์
สถานการณ์ภายในและภายนอกองค์กร เป็นขั้นตอนการวิเคราะห์เพื่อประเมิน
ศักยภาพจุดแข็งและจุดอ่อนขององค์กร 4) การกำหนดแผนยุทธ์ศาสตร์ เป็นขั้นตอน
การกำหนดรายละเอียดของวิธีการและ 5) แนวทางการขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติ
เป็นขั้นตอนการแปลงแผนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลสำเร็จตามเป้าหมาย
ที่ได้กำหนดไว้
3.2 สถาบันการพลศึกษาควรนำสารสนเทศที่ได้จากการประเมินในส่วนที่
พบผ่านการประเมินและไม่ผ่านการประเมิน รวมถึงแนวโน้มของการพัฒนากีฬา
สถาบันพระปกเกล้า