Page 42 - b30427_Fulltext
P. 42
กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย: กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย
2.1.4 สนับสนุนเงินรางวัลเป็นกรณีพิเศษ สำหรับชนิดกีฬาที่เป็นที่
นิยมและสามารถสร้างประวัติศาสตร์ให้แก่วงการกีฬา
ของไทย
2.1.5 กำหนดหลักเกณฑ์การสนับสนุนเงินรางวัลในส่วนของ
ผู้ฝึกสอนให้มากขึ้น
2.2 กลุ่มนักกีฬาคนพิการ
2.2.1 เกณฑ์การสนับสนุนเงินรางวัลไม่ควรกำหนดจำนวนประเทศ
เป็นส่วนประกอบในการพิจารณาสนับสนุนเงินรางวัล
การแข่งขันพาราลิมปิกเกมส์และเอเชี่ยนพาราเกมส์
2.2.2 กำหนดหลักเกณฑ์การสนับสนุนเงินรางวัลระดับชิงชนะเลิศ
แห่งเอเชีย-โลก
2.2.3 สนับสนุนเงินรางวัลชนิดกีฬาที่ทำลายสถิติการแข่งขัน
พาราลิมปิกเกมส์และระดับโลก
2.2.4 สนับสนุนเงินรางวัลให้แก่ผู้ช่วยเหลือนักกีฬาคนพิการ
ในตำแหน่ง Athletics Guide Runner เสมือนเป็นนักกีฬา
คนหนึ่ง สุดท้ายผู้วิจัยได้เสนอข้อเสนอจากการวิจัยครั้งนี้
คือ (1) กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ควรศึกษาเกณฑ์
การจัดสรรเงินรางวัลสำหรับการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติ
(2) ควรมีการทบทวนหลักเกณฑ์ของการจ่ายเงินรางวัล
โดยนำข้อมูลที่เป็นจริงมาพิจารณา 25
นอกจากนี้ การศึกษากองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติมีคนศึกษา
ในประเด็นรูปแบบการประเมินแผนยุทธศาสตร์กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ
พ.ศ. 2556-2559 ผู้ศึกษาได้ให้ข้อเสนอแนะต่อกองทุนพัฒนากีฬาแห่งชาติ โดยแบ่ง
26
ออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้
25 วรศักดิ์ ขันติบัณฑิต, “การศึกษาการพัฒนาเกณฑ์มาตรฐานการจ่ายเงินรางวัลของกองทุน
พัฒนาการกีฬาแห่งชาติสำหรับการแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศ,” (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขา
วิชาการจัดการการกีฬา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม, 2553)
26 รัฐวัลย์ เฮงคราวิทย์, “รูปแบบการประเมินแผนยุทธศาสตร์กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ
พ.ศ. 2556-2559 โดยใช้ทฤษฎีโปรแกรมประยุกต์,” (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชา
วิทยาศาสตร์การออกกำลังการและการกีฬา คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559)
1
สถาบันพระปกเกล้า