Page 41 - b30427_Fulltext
P. 41
กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย: กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย
แห่งประเทศไทยควรขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีให้เพียงพอต่อ
การให้ทุนอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน (2) ควรกำหนดเป็นนโยบายให้หน่วยงานทั้งภาครัฐ
และภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการให้ทุน (3) สถาบันการศึกษาควรให้ความช่วยเหลือ
ด้านการเรียนมึความยืดหยุ่นเรื่องเวลาเรียนและการไปร่วมการแข่งขันให้แก่นักกีฬา
24
ที่ได้รับทุน
การศึกษากองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ มีผู้ศึกษาในประเด็น
การจ่ายเงินรางวัลสำหรับการแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศ พบข้อค้นพบ 2 ประการ
คือ ประการที่ 1 ในด้านสภาพและปัญหาของการจ่ายเงินรางวัลของกองทุนพัฒนา
การกีฬาแห่งชาติ พบว่านโยบายไม่ชัดเจน การเบิกจ่ายเงินรางวัลขาดความคล่องตัว
โดยการแทรกแซงทางการเมืองมีส่วนสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงนโยบายและแนวทาง
การสนับสนุนของกองทุนฯ รวมทั้งเกณฑ์การสนับสนุนเงินรางวัล สำหรับการแข่งขัน
รายการระดับนานาชาติ ยังไม่มีการศึกษาการให้การสนับสนุนอย่างชัดเจน ประการที่ 2
เกณฑ์การจ่ายเงินรางวัลของกองทุนฯ สำหรับการแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศแยกเป็น
2 กลุ่มดังนี้
2.1 กลุ่มนักกีฬาทั่วไป
2.1.1 กำหนดเกณฑ์การจ่ายเงินรางวัลให้กับทุกชนิดกีฬาเท่าเทียม
กัน โดยอัตราเงินรางวัลจะแตกต่างกันในแต่ละอันดับ
การแข่งขันและรายการแข่งขัน
2.1.2 เกณฑ์การสนับสนุนเงินรางวัล สำหรับรายการแข่งขันกีฬา
ระดับนานาชาติ (ชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย-โลก) ให้กำหนด
เงื่อนไขการพิจารณาข้อจำกัดของแต่ละชนิดกีฬาเป็นเกณฑ์
รวมทั้งไม่ควรกำหนดจำนวนประเทศ/ทวีป ในการพิจารณา
หรือกำหนดจำนวนประเทศ/ทวีป ให้น้อยลง
2.1.3 สนับสนุนเงินรางวัลชนิดกีฬาที่ทำลายสถิติการแข่งขัน
โอลิมปิกเกมส์และระดับโลก
24 รุ่งทิวา รอดโพธิ์ทอง, “แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการกองทุนการศึกษาของนักกีฬา
การกีฬาแห่งประเทศไทย,” (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการการกีฬา บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม, 2558)
0
สถาบันพระปกเกล้า